Skip to content

Interstellar Group

ในฐานะผลิตภัณฑ์การซื้อขายทางการเงินที่ซับซ้อน สัญญาส่วนต่าง Contracts for Difference (CFDs) มีความเสี่ยงสูงอย่างมากเนื่องจากคุณสมบัติของเลเวอเรจ บัญชีลูกค้าของนักลงทุนรายย่อยส่วนใหญ่มักบันทึกการสูญเสียเงินลงทุนในสัญญาส่วนต่างอย่างรวดเร็ว คุณควรพิจารณาว่า คุณมีความเข้าใจเกี่ยวกับกฎเกณฑ์การดำเนินงานของสัญญาส่วนต่าง และสามารถรับความเสี่ยงสูงของการสูญเสียเงินลงทุนได้หรือไม่    

InfoQuest - ดอลลาร์สหรัฐอ่อนค่าเมื่อเทียบกับสกุลเงินหลัก ๆ ในการซื้อขายที่ตลาดปริวรรตเงินตรานิวยอร์กในวันศุกร์ (1 มี.ค.) หลังการเปิดเผยข้อมูลเศรษฐกิจสหรัฐที่อ่อนแอเกินคาด แต่ดอลลาร์แข็งค่าขึ้นเมื่อเทียบกับเยน หลังนายคาซูโอะ อูเอดะ ผู้ว่าการธนาคารกลางญี่ปุ่น (BOJ) กล่าวว่า ยังเร็วเกินไปที่จะประกาศชัยชนะด้านเงินเฟ้อ ดัชนีดอลลาร์ ซึ่งเป็นดัชนีวัดความเคลื่อนไหวของดอลลาร์เมื่อเทียบกับสกุลเงินหลัก 6 สกุลในตะกร้าเงิน ลบ 0.28% สู่ระดับ 103.860 ดอลลาร์อ่อนค่าเมื่อเทียบกับยูโรและปอนด์ แต่แข็งค่าเมื่อเทียบกับเยน โดยยูโรแข็งค่าขึ้น 0.31% สู่ระดับ 1.0837 ดอลลาร์ และปอนด์แข็งค่าขึ้น 0.26% สู่ระดับ 1.2655 ดอลลาร์ ขณะที่ดอลลาร์ปรับตัวขึ้น 0.09% สู่ระดับ 150.10 เยน ทั้งนี้ ดอลลาร์ปรับตัวในช่วงแคบ ๆ ขณะที่เทรดเดอร์ให้ความสำคัญกับการเปิดเผยข้อมูลเศรษฐกิจเพื่อหาสัญญาณบ่งชี้ว่า ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) อาจจะเริ่ม...

09

2024-02

ภาวะตลาดเงินนิวยอร์ก: ดอลล์แข็งค่า ข้อมูลแรงงานแกร่งหนุนคาดเฟดไม่เร่งลดดอกเบี้ย

InfoQuest - ดอลลาร์สหรัฐแข็งค่าเมื่อเทียบกับสกุลเงินหลัก ๆ ในการซื้อขายที่ตลาดปริวรรตเงินตรานิวยอร์กในวันพฤหัสบดี (8 ก.พ.) หลังสหรัฐเปิดเผยตัวเลขผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานต่ำกว่าคาด ซึ่งบ่งชี้ตลาดแรงงานที่แข็งแกร่ง และจะเป็นปัจจัยหนุนให้ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ตรึงอัตราดอกเบี้ยในระดับสูงยาวนานกว่าที่คาดไว้ ทั้งนี้ ดัชนีดอลลาร์ซึ่งเป็นดัชนีวัดความเคลื่อนไหวของดอลลาร์เมื่อเทียบกับสกุลเงินหลัก 6 สกุลในตะกร้าเงิน เพิ่มขึ้น 0.10% แตะที่ระดับ 104.165 กระทรวงแรงงานสหรัฐเปิดเผยตัวเลขผู้ยื่นขอสวัสดิการว่างงานครั้งแรกลดลง 9,000 ราย สู่ระดับ 218,000 รายในสัปดาห์ที่แล้ว และต่ำกว่าตัวเลขคาดการณ์ของนักวิเคราะห์ที่ระดับ 221,000 ราย นอกจากนี้ ดอลลาร์แข็งค่าสอดคล้องกับการดีดตัวของอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐ โดยอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐอายุ 10 ปี ดีดตัวขึ้นเหนือระดับ 4.1% เมื่อคืนนี้ นักลงทุนจับตาถ้...

09

2024-02

ภาวะตลาดเงินบาท: ปิด 35.82 อ่อนค่าสุดในภูมิภาค คาดมี Flow ตลาดหุ้น จับตาตัวเลขศก.สหรัฐคืนนี้

InfoQuest - นักบริหารเงินจากธนาคารกรุงศรีอยุธยา เปิดเผยว่า เงินบาทปิดตลาดเย็นนี้อยู่ที่ 35.82 บาท/ดอลลาร์ ปรับตัวอ่อนค่าจาก เปิดตลาดเมื่อเช้าที่ระดับ 35.60 บาท/ดอลลาร์ เคลื่อนไหวในทิศทางเดียวกับภูมิภาค ระหว่างวันเงินบาทเคลื่อนไหวในกรอบ 35.59 - 35.86 บาท/ดอลลาร์ โดยคืนนี้ตลาดรอดูการประกาศตัวเลขขอรับสวัสดิการว่างงานประจำสัปดาห์ของสหรัฐฯ "วันนี้บาทอ่อนค่าสุดในภูมิภาค อาจเป็น Flow จากนักลงทุนในตลาดหุ้น แต่ยังไม่หลุด 36.00 บาท/ดอลลาร์ เข้าใจว่ามีผู้ส่ง ออกตั้งรอขายดอลลาร์ไว้ หลังอ่อนค่าขึ้นมามาก" นักบริหารเงิน กล่าว นักบริหารเงิน ประเมินกรอบการเคลื่อนไหวของเงินบาทวันพรุ่งนี้ไว้ที่ 35.70 - 36.00 บาท/ดอลลาร์ * ปัจจัยสำคัญ - เงินเยนอยู่ที่ 148.73 เยน/ดอลลาร์ จากเมื่อเช้าที่ระดับ 148.00 เยน/ดอลลาร์ - เงินยูโรอยู่ที่ 1.0780 ดอลลาร์/ยูโร จากเมื่อเช้าที่ระดับ 1.0776 ดอลลาร์/ยูโร - ดัชนี SET ปิดวันนี้ท...

08

2024-02

ดอลลาร์แข็งค่าเทียบเยน ขานรับความเห็นรองผู้ว่า BOJ

InfoQuest - สกุลเงินดอลลาร์สหรัฐแข็งค่าขึ้นสู่บริเวณกรอบล่าง 148 เยนในการซื้อขายที่ตลาดโตเกียวเช้านี้ (8 ก.พ.) หลังจากที่นายชินอิจิ อุจิดะ รองผู้ว่าการธนาคารกลางญี่ปุ่น (BOJ) ออกมาแสดงความเห็นว่า เป็นเรื่องยากที่จะนึกถึงภาพถึงการปรับขึ้นดอกเบี้ยอย่างต่อเนื่อง แม้ว่า BOJ จะตัดสินใจยุติการใช้นโยบายอัตราดอกเบี้ยติดลบก็ตาม สำนักข่าวเกียวโดรายงานว่า ณ เที่ยงวันนี้ตามเวลาโตเกียว ดอลลาร์เคลื่อนไหวที่ 148.35-148.36 เยน เทียบกับ 148.12-148.22 เยนที่ตลาดนิวยอร์ก และ 147.82-147.83 เยนที่ตลาดโตเกียวเมื่อเวลา 17.00 น.ของเมื่อวานนี้ ยูโรเคลื่อนไหวที่ 1.0781-1.0785 ดอลลาร์ และ 159.94-160.01 เยน เทียบกับ 1.0767-1.0777 ดอลลาร์ และ 159.58-159.68 เยนที่ตลาดนิวยอร์ก และ 1.0772-1.0774 ดอลลาร์ และ 159.24-159.28 เยนที่ตลาดโตเกียวเมื่อวานนี้ กดอ่านข่าวต้นฉบับจาก InfoQuest

08

2024-02

ภาวะตลาดเงินบาท: เปิด 35.60 แนวโน้มแกว่ง sideway จับตาทิศทาง Flow-รอปัจจัยใหม่

InfoQuest - นักบริหารเงินจากธนาคารกรุงศรีอยุธยา เปิดเผยว่า เงินบาทเปิดตลาดเช้านี้อยู่ที่ระดับ 35.60 บาท/ดอลลาร์ ปรับตัวแข็ง ค่าเล็กน้อยจากเย็นวานนี้ที่ระดับ 35.62 บาท/ดอลลาร์ วันนี้ตลาดยังขาดปัจจัยชี้นำใหม่ ทำให้ค่าเงินในตลาดโลกเคลื่อนไหวแบบผสม โดยตลาดรอดูการประกาศตัวเลขการขอรับ สวัสดิการว่างงานประจำสัปดาห์ของสหรัฐฯ ในคืนนี้ ส่วนปัจจัยในประเทศ ตลาดติดตามดูทิศทางการเคลื่อนไหวของเงินทุนต่างประเทศ "บาทน่าจะย่ำฐาน แกว่งตัวในกรอบรอปัจจัยใหม่ เมื่อวานหลังมีมติ กนง.แล้วเงินบาทอ่อนค่าขึ้นมา 10 สตางค์ วันนี้ดู Flow เป็นหลัก" นักบริหารเงิน กล่าว นักบริหารเงิน ประเมินกรอบการเคลื่อนไหวของเงินบาทวันนี้ไว้ที่ 35.50 - 35.70 บาท/ดอลลาร์ SPOT ล่าสุด อยู่ที่ระดับ 35.77750 บาท/ดอลลาร์ * ปัจจัยสำคัญ - เงินเยน อยู่ที่ระดับ 148.00 เยน/ดอลลาร์ จากเย็นวานที่ระดับ 147.94 เยน/ดอลลาร์ - เงินยูโร อยู่ที่ระดับ 1.0776 ...

08

2024-02

ภาวะตลาดเงินนิวยอร์ก: ดอลล์อ่อนค่า นักลงทุนจับตาเงินเฟ้อ-ความเห็นจนท.เฟด

InfoQuest - ดอลลาร์สหรัฐอ่อนค่าลงเล็กน้อยเมื่อเทียบกับสกุลเงินหลัก ๆ ในการซื้อขายที่ตลาดปริวรรตเงินตรานิวยอร์กในวันพุธ (7 ก.พ.) ขณะที่นักลงทุนจับตาการแสดงความเห็นของเจ้าหน้าที่ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) รวมทั้งข้อมูลเงินเฟ้อของสหรัฐ ทั้งนี้ ดัชนีดอลลาร์ซึ่งเป็นดัชนีวัดความเคลื่อนไหวของดอลลาร์เมื่อเทียบกับสกุลเงินหลัก 6 สกุลในตะกร้าเงิน ลดลง 0.15% แตะที่ระดับ 104.057 นักวิเคราะห์ระบุว่าดอลลาร์อ่อนค่าจากปัจจัยทางเทคนิค หลังดีดตัวรับถ้อยแถลงของนายเจอโรม พาวเวล ประธานเฟดซึ่งระบุว่าเฟดจะดำเนินการอย่างระมัดระวังในการปรับลดอัตราดอกเบี้ยในปีนี้ และมีแนวโน้มที่จะปรับลดอัตราดอกเบี้ยล่าช้ากว่าที่ตลาดคาดการณ์ไว้ นักลงทุนยังคงจับตาการแสดงความเห็นของบรรดาเจ้าหน้าที่เฟด โดยล่าสุดนางเอเดรียนา คุกเลอร์ หนึ่งในสมาชิกคณะผู้ว่าการเฟด กล่าวในการประชุมสมาคมเศรษฐกิจแห่งเมืองบอสตันเมื่อวานนี้ว่า "เป็นเรื่องเหมาะสมที่เ...

08

2024-02

ภาวะตลาดเงินบาท: ปิด 35.62 อ่อนค่า หลังกนง.เสียงแตกคงดอกเบี้ย พร้อมลดคาดการณ์ GDP ปี 67

InfoQuest - นักบริหารเงินจากธนาคารกรุงศรีอยุธยา เปิดเผยว่า เงินบาทปิดตลาดเย็นนี้ อยู่ที่ระดับ 35.62 บาท/ดอลลาร์ อ่อนค่าจาก ช่วงเช้าที่เปิดตลาดที่ระดับ 35.52 บาท/ดอลลาร์ ระหว่างวันเงินบาทเคลื่อนไหวอยู่ในกรอบ 35.44-35.65 บาท/ดอลลาร์ โดยเงินบาทปรับตัวอ่อนค่าลง หลังรู้ผลประชุมคณะ กรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) ที่มีมติไม่เป็นเอกฉันท์ให้คงดอกเบี้ยนโยบาย โดยตลาดกังวลมุมมองของ กนง.ที่ออกมาว่ายังมีกังวลต่อ ทิศทางเศรษฐกิจ ซึ่งได้ปรับลดคาดการณ์ GDP ปีนี้ลงเหลือ 2.5-3.0% จากเดิม 3.2-3.8% "ตลาดมองว่า โทนของ กนง.ค่อนข้างกังวลเศรษฐกิจ และมีการปรับลด GDP ปีนี้ลง ซึ่งเมื่อเศรษฐกิจไม่ดี ตลาดมองว่ามี โอกาสที่ กนง.จะลดดอกเบี้ยลงในปีนี้ ในขณะที่อัตราดอกเบี้ยของไทย อยู่ในระดับที่ค่อนข้างต่ำเมื่อเทียบกับหลายประเทศ ซึ่งการลด ดอกเบี้ยลง ย่อมทำให้ผลตอบแทนที่จะได้รับต่ำลงด้วย อีกทั้งอาจทำให้เกิด Out flow" นักบริหารเงิ...

1 9 10 11 12 13 184