Skip to content

Interstellar Group

ในฐานะผลิตภัณฑ์การซื้อขายทางการเงินที่ซับซ้อน สัญญาส่วนต่าง Contracts for Difference (CFDs) มีความเสี่ยงสูงอย่างมากเนื่องจากคุณสมบัติของเลเวอเรจ บัญชีลูกค้าของนักลงทุนรายย่อยส่วนใหญ่มักบันทึกการสูญเสียเงินลงทุนในสัญญาส่วนต่างอย่างรวดเร็ว คุณควรพิจารณาว่า คุณมีความเข้าใจเกี่ยวกับกฎเกณฑ์การดำเนินงานของสัญญาส่วนต่าง และสามารถรับความเสี่ยงสูงของการสูญเสียเงินลงทุนได้หรือไม่    

InfoQuest - ดอลลาร์สหรัฐอ่อนค่าเมื่อเทียบกับสกุลเงินหลัก ๆ ในการซื้อขายที่ตลาดปริวรรตเงินตรานิวยอร์กในวันศุกร์ (1 มี.ค.) หลังการเปิดเผยข้อมูลเศรษฐกิจสหรัฐที่อ่อนแอเกินคาด แต่ดอลลาร์แข็งค่าขึ้นเมื่อเทียบกับเยน หลังนายคาซูโอะ อูเอดะ ผู้ว่าการธนาคารกลางญี่ปุ่น (BOJ) กล่าวว่า ยังเร็วเกินไปที่จะประกาศชัยชนะด้านเงินเฟ้อ ดัชนีดอลลาร์ ซึ่งเป็นดัชนีวัดความเคลื่อนไหวของดอลลาร์เมื่อเทียบกับสกุลเงินหลัก 6 สกุลในตะกร้าเงิน ลบ 0.28% สู่ระดับ 103.860 ดอลลาร์อ่อนค่าเมื่อเทียบกับยูโรและปอนด์ แต่แข็งค่าเมื่อเทียบกับเยน โดยยูโรแข็งค่าขึ้น 0.31% สู่ระดับ 1.0837 ดอลลาร์ และปอนด์แข็งค่าขึ้น 0.26% สู่ระดับ 1.2655 ดอลลาร์ ขณะที่ดอลลาร์ปรับตัวขึ้น 0.09% สู่ระดับ 150.10 เยน ทั้งนี้ ดอลลาร์ปรับตัวในช่วงแคบ ๆ ขณะที่เทรดเดอร์ให้ความสำคัญกับการเปิดเผยข้อมูลเศรษฐกิจเพื่อหาสัญญาณบ่งชี้ว่า ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) อาจจะเริ่ม...

02

2024-02

ดอลลาร์อ่อนค่าเทียบเยน หลังบอนด์ยีลด์สหรัฐร่วงหลุดระดับ 4%

InfoQuest - สกุลเงินดอลลาร์สหรัฐอ่อนค่าลงเมื่อเทียบกับเงินเยน ในการซื้อขายที่ตลาดโตเกียววันนี้ (2 ก.พ.) หลังจากอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐอายุ 10 ปีร่วงหลุดจากระดับ 4% เมื่อคืนนี้ สำนักข่าวเกียวโดรายงานว่า ณ เที่ยงวันนี้ตามเวลาโตเกียว ดอลลาร์เคลื่อนไหวที่ 146.35-146.36 เยน เทียบกับ 146.35-146.45 เยนที่ตลาดนิวยอร์ก และ 146.80-146.82 เยนที่ตลาดโตเกียวเมื่อเวลา 17.00 น.ของเมื่อวานนี้ ยูโรเคลื่อนไหวที่ 1.0877-1.0881 ดอลลาร์ และ 159.17-159.25 เยน เทียบกับ 1.0866-1.0876 ดอลลาร์ และ 159.16-159.26 เยนที่ตลาดนิวยอร์ก และ 1.0815-1.0817 ดอลลาร์ และ 159.69-159.73 เยนที่ตลาดโตเกียวเมื่อวานนี้ อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐอายุ 10 ปี ลดลงสู่ระดับ 3.87% เมื่อคืนนี้ ซึ่งเป็นระดับต่ำสุดในรอบ 1 เดือน หลังสหรัฐเปิดเผยตัวเลขผู้ยื่นขอสวัสดิการว่างงานครั้งแรกเพิ่มขึ้น 9,000 ราย สู่ระดับ 224,000 รายในสัปด...

02

2024-02

ภาวะตลาดเงินบาท: เปิด 35.28 แข็งค่าสอดคล้องภูมิภาค รับดอลลาร์อ่อนค่าหลังบอนด์ยีลด์ชะลอ

InfoQuest - นักบริหารเงินจากธนาคารกรุงศรีอยุธยา เปิดเผยว่า เงินบาทเปิดตลาดเช้านี้อยู่ที่ 35.28 บาท/ดอลลาร์ ปรับตัวแข็งค่าจาก ปิดตลาดช่วงเย็นวานนี้ที่ระดับ 35.45 บาท/ดอลลาร์ เคลื่อนไหวตามทิศทางตลาดโลก เนื่องจากดอลลาร์ปรับตัวอ่อนค่าเมื่อเทียบกับทุกสกุล เงินหลัก หลังตัวเลขขอรับสวัสดิการว่างงานประจำสัปดาห์ของสหรัฐฯ ออกมาสูงกว่าที่ตลาดคาดการณ์ไว้เป็นปัจจัยกดดันให้บอนด์ยีลด์ร่วงลง ส่วนปัจจัยในประเทศเกี่ยวกับสถานการณ์ทางการเมืองที่เป็นผลพวงมาจากคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญนั้นส่งผลกระทบต่อค่า เงินบาทในวงจำกัด "บาทแข็งค่าลงมามากจากช่วงปิดตลาดเย็นวานนี้ เนื่องจากดอลลาร์อ่อนค่าตามบอนด์ยีลด์ที่ร่วงลงมา หลังได้รับแรงกดดันจาก ยอดขอรับสวัสดิการว่างงานออกมาสูงเกินคาด" นักบริหารเงิน กล่าว นักบริหารเงิน ประเมินกรอบการเคลื่อนไหวของเงินบาทในวันนี้ไว้ที่ 35.15 - 35.40 บาท/ดอลลาร์ SPOT ล่าสุด อยู่ที่ระดับ 35.357...

02

2024-02

ภาวะตลาดเงินนิวยอร์ก: ดอลล์อ่อนค่าหลังบอนด์ยีลด์ร่วง จับตาจ้างงานสหรัฐ

InfoQuest - ดอลลาร์สหรัฐอ่อนค่าลงเมื่อเทียบกับสกุลเงินหลัก ๆ ในการซื้อขายที่ตลาดปริวรรตเงินตรานิวยอร์กในวันพฤหัสบดี (1 ก.พ.) หลังจากอัตราผลตอบแทนพันธบัตรสหรัฐร่วงหลุดจากระดับ 4% นอกจากนี้ ดอลลาร์ยังถูกกดดันจากการคาดการณ์ที่ว่าธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) อาจจะเริ่มปรับลดอัตราดอกเบี้ยในการประชุมเดือนพ.ค. ทั้งนี้ ดัชนีดอลลาร์ซึ่งเป็นดัชนีวัดความเคลื่อนไหวของดอลลาร์เมื่อเทียบกับสกุลเงินหลัก 6 สกุลในตะกร้าเงิน ลดลง 0.12% แตะที่ระดับ 103.278 FedWatch Tool ของ CME Group บ่งชี้ว่า นักลงทุนให้น้ำหนัก 65.5% ที่เฟดจะคงอัตราดอกเบี้ยที่ระดับ 5.25-5.50% ในการประชุมเดือนมี.ค. และให้น้ำหนัก 62.0% ที่เฟดจะปรับลดอัตราดอกเบี้ย 0.25% สู่ระดับ 5.00-5.25% ในการประชุมเดือนพ.ค. ทั้งนี้ หากเฟดประกาศปรับลดอัตราดอกเบี้ยในเดือนพ.ค.ก็จะเป็นการปรับลดอัตราดอกเบี้ยเป็นครั้งแรก หลังจากที่เฟดปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย 11 ครั้งนับตั้ง...

02

2024-02

ภาวะตลาดเงินบาท: ปิด 35.46/47 แกว่งแคบตามภูมิภาค รอปัจจัยใหม่หนุนทิศทาง

InfoQuest - นักบริหารเงินจากธนาคารกรุงเทพ เปิดเผยว่า เงินบาทปิดตลาดเย็นนี้อยู่ที่ระดับ 35.46/47 บาท/ดอลลาร์ จากช่วงเช้าที่ เปิดตลาดที่ระดับ 35.52 บาท/ดอลลาร์ โดยระหว่างวันเงินบาทเคลื่อนไหวในกรอบแคบ 35.43 - 35.56 บาท/ดอลลาร์ เงินบาทระหว่างวันยังไม่มีปัจจัยใหม่ โดยเงินบาทและสกุลเงินในภูมิภาคเคลื่อนไหวในทิศทางเดียวกัน ทั้งนี้ ยังเป็นปัจจัยต่อ เนื่องจากเมื่อคืนนี้ที่ธนาคารกลางสหรัฐฯ (เฟด) ระบุว่าจะไม่ลดดอกเบี้ยในเดือนมี.ค. ซึ่งก็เป็นไปตามที่ตลาดคาดการณ์ สำหรับตัวเลขเศรษฐกิจที่ต้องติดตามคืนนี้ คือ ธนาคารกลางอังกฤษ (BoE) แถลงมติอัตราดอกเบี้ย และจำนวนผู้ขอรับ สวัสดิการว่างงานรายสัปดาห์ ของสหรัฐฯ นักบริหารเงิน คาดว่า พรุ่งนี้เงินบาทจะเคลื่อนไหวในกรอบ 35.35 - 35.65 บาท/ดอลลาร์ * ปัจจัยสำคัญ - เงินเยน อยู่ที่ระดับ 146.82/86 เยน/ดอลลาร์ จากช่วงเช้าที่ระดับ 146.80 เยน/ดอลลาร์ - เงินยูโร อยู่ที่ระดับ 1...

01

2024-02

ดอลลาร์อ่อนค่าเทียบเยน หลังเฟดส่งสัญญาณไม่ปรับขึ้นดอกเบี้ย

InfoQuest - สกุลเงินดอลลาร์สหรัฐอ่อนค่าลงสู่บริเวณกรอบกลางของระดับ 146 เยนในการซื้อขายที่ตลาดโตเกียววันนี้ (1 ก.พ.) หลังจากที่ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ส่งสัญญาณว่าจะไม่มีการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยอีก หลังจากการประชุมนโยบายเมื่อวานนี้ สำนักข่าวเกียวโดรายงานว่า ณ เที่ยงวันนี้ตามเวลาโตเกียว ดอลลาร์เคลื่อนไหวที่ 146.58-146.59 เยน เทียบกับ 146.87-146.97 เยนที่ตลาดนิวยอร์ก และ 147.65-147.67 เยนที่ตลาดโตเกียวเมื่อเวลา 17.00 น.ของเมื่อวานนี้ ยูโรเคลื่อนไหวที่ 1.0817-1.0821 ดอลลาร์ และ 158.56-158.63 เยน เทียบกับ 1.0813-1.0823 ดอลลาร์ และ 158.92-159.02 เยนที่ตลาดนิวยอร์ก และ 1.0815-1.0817 ดอลลาร์ และ 159.69-159.73 เยนที่ตลาดโตเกียวเมื่อวานนี้ กดอ่านข่าวต้นฉบับจาก InfoQuest

01

2024-02

ภาวะตลาดเงินบาท: เปิด 35.52 อ่อนค่าตามภูมิภาค หลังเฟดคงดอกเบี้ยตามคาด จับตาผลประชุม BoE

InfoQuest - นักบริหารเงินจากธนาคารกรุงศรีอยุธยา เปิดเผยว่า เงินบาทเปิดตลาดเช้านี้อยู่ที่ 35.52 บาท/ดอลลาร์ จากปิดตลาดช่วง เย็นวานนี้ที่ระดับ 35.42/44 บาท/ดอลลาร์ เงินบาทอ่อนค่าเทียบท้ายตลาด เช่นเดียวกับสกุลเงินในภูมิภาค ตามดอลลาร์ที่แข็งค่า หลังเมื่อคืนนี้ธนาคารกลางสหรัฐฯ (เฟด) คงดอกเบี้ยตามคาด โดยนายเจอโรม พาวเวล ประธานเฟด ออกมาระบุว่า การลดดอกเบี้ยในเดือนมี.ค. 67 เป็นไปได้น้อย ส่ง ผลให้ดอลลาร์นั้นปรับตัวแข็งค่าขึ้นเทียบสกุลเงินส่วนใหญ่ นักบริหารเงิน ประเมินกรอบการเคลื่อนไหวของเงินบาทในวันนี้ไว้ที่ 35.40 - 35.60 บาท/ดอลลาร์ ปัจจัยที่ต้องติดตาม วันนี้ คือธนาคารกลางอังกฤษ (BoE) แถลงมติอัตราดอกเบี้ย ส่วนสหรัฐฯ แถลงจำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานรายสัปดาห์ และดัชนีภาค การผลิตเดือนม.ค. จากสถาบันจัดการด้านอุปทานของสหรัฐ (ISM) SPOT ล่าสุด อยู่ที่ระดับ 35.49750 บาท/ดอลลาร์ * ปัจจัยสำคัญ - เงินเยนอย...

1 12 13 14 15 16 184