Skip to content

Interstellar Group

ในฐานะผลิตภัณฑ์การซื้อขายทางการเงินที่ซับซ้อน สัญญาส่วนต่าง Contracts for Difference (CFDs) มีความเสี่ยงสูงอย่างมากเนื่องจากคุณสมบัติของเลเวอเรจ บัญชีลูกค้าของนักลงทุนรายย่อยส่วนใหญ่มักบันทึกการสูญเสียเงินลงทุนในสัญญาส่วนต่างอย่างรวดเร็ว คุณควรพิจารณาว่า คุณมีความเข้าใจเกี่ยวกับกฎเกณฑ์การดำเนินงานของสัญญาส่วนต่าง และสามารถรับความเสี่ยงสูงของการสูญเสียเงินลงทุนได้หรือไม่    

InfoQuest - ดอลลาร์สหรัฐอ่อนค่าเมื่อเทียบกับสกุลเงินหลัก ๆ ในการซื้อขายที่ตลาดปริวรรตเงินตรานิวยอร์กในวันศุกร์ (1 มี.ค.) หลังการเปิดเผยข้อมูลเศรษฐกิจสหรัฐที่อ่อนแอเกินคาด แต่ดอลลาร์แข็งค่าขึ้นเมื่อเทียบกับเยน หลังนายคาซูโอะ อูเอดะ ผู้ว่าการธนาคารกลางญี่ปุ่น (BOJ) กล่าวว่า ยังเร็วเกินไปที่จะประกาศชัยชนะด้านเงินเฟ้อ ดัชนีดอลลาร์ ซึ่งเป็นดัชนีวัดความเคลื่อนไหวของดอลลาร์เมื่อเทียบกับสกุลเงินหลัก 6 สกุลในตะกร้าเงิน ลบ 0.28% สู่ระดับ 103.860 ดอลลาร์อ่อนค่าเมื่อเทียบกับยูโรและปอนด์ แต่แข็งค่าเมื่อเทียบกับเยน โดยยูโรแข็งค่าขึ้น 0.31% สู่ระดับ 1.0837 ดอลลาร์ และปอนด์แข็งค่าขึ้น 0.26% สู่ระดับ 1.2655 ดอลลาร์ ขณะที่ดอลลาร์ปรับตัวขึ้น 0.09% สู่ระดับ 150.10 เยน ทั้งนี้ ดอลลาร์ปรับตัวในช่วงแคบ ๆ ขณะที่เทรดเดอร์ให้ความสำคัญกับการเปิดเผยข้อมูลเศรษฐกิจเพื่อหาสัญญาณบ่งชี้ว่า ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) อาจจะเริ่ม...

30

2024-01

ดอลล์อ่อนค่าเทียบเยนหลังบอนด์ยีลด์สหรัฐร่วง ตลาดจับตาประชุมเฟด

InfoQuest - ดอลลาร์สหรัฐอ่อนค่าลงเมื่อเทียบกับเงินเยน ในการซื้อขายที่ตลาดปริวรรตเงินตราโตเกียววันนี้ (30ม.ค.) หลังจากอัตราผลตอบแทนพันธบัตรสหรัฐปรับตัวลงเมื่อคืนนี้ ซึ่งทำให้ตลาดคาดการณ์ว่าส่วนต่างอัตราดอกเบี้ยระหว่างญี่ปุ่นและสหรัฐจะปรับตัวแคบลง สำนักข่าวเกียวโดรายงานว่า ณ เที่ยงวันนี้ตามเวลาโตเกียว ดอลลาร์เคลื่อนไหวที่ 147.43-147.46 เยน เทียบกับ 147.43-147.53 เยนที่ตลาดนิวยอร์ก และ 147.79-147.81 เยนที่ตลาดโตเกียวเมื่อเวลา 17.00 น.ของเมื่อวานนี้ ยูโรเคลื่อนไหวที่ 1.0832-1.0836 ดอลลาร์ และ 159.70-159.79 เยน เทียบกับ 1.0827-1.0839 ดอลลาร์ และ 159.74-159.84 เยนที่ตลาดนิวยอร์ก และ 1.0836-1.0837 ดอลลาร์ และ 160.15-160.19เยนที่ตลาดโตเกียวเมื่อวานนี้ อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐอายุ 10 ปีปรับตัวลงสู่ระดับ 4.105% เมื่อคืนนี้ ขณะที่นักลงทุนจับตาการประชุมนโยบายการเงินของธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ในว...

30

2024-01

ภาวะตลาดเงินบาท: เปิด 35.38 พลิกแข็งค่า ก่อนรู้ผลประชุมเฟด-รอข้อมูลเศรษฐกิจตปท.

InfoQuest - นายพูน พานิชพิบูลย์ นักกลยุทธ์ตลาดเงินตลาดทุน Krungthai GLOBAL MARKETS ธนาคารกรุงไทย เปิดเผยว่า ค่าเงิน บาทเปิดเช้านี้ที่ระดับ 35.38 บาท/ดอลลาร์ แข็งค่าขึ้นมากจากระดับปิดวันก่อนที่ 35.58 บาท/ดอลลาร์ เงินบาทพลิกกลับมาแข็งค่า โดยได้แรงหนุนจากการทยอยอ่อนค่าลงของเงินดอลลาร์ ตามภาวะเปิดรับความเสี่ยง (Risk- On) ของตลาดการเงินสหรัฐฯ นอกจากนี้ ผู้เล่นในตลาดบางส่วนยังได้ปรับลดสถานะถือครองเงินดอลลาร์ในช่วงก่อนรับรู้ผลการประชุม ธนาคากลางสหรัฐ (เฟด) วันพฤหัสนี้ รวมถึงการรีบาวด์ขึ้นของราคาทองคำ ที่ส่งผลให้ผู้เล่นในตลาดขายทำกำไร ซึ่งโฟลว์ธุรกรรมดัง กล่าว ช่วยหนุนการแข็งค่าของเงินบาทได้ โดยวันนี้ ตลาดจะรอลุ้นรายงานข้อมูลเศรษฐกิจสำคัญจากฝั่งยูโรโซน ทั้ง GDP ไตรมาส 4/66 รวมถึงรายงานดัชนีความเชื่อ มั่นผู้บริโภค (Consumer Confidence) รวมทั้งรอจับตาถ้อยแถลงของบรรดาเจ้าหน้าที่ธนาคารกลางยุโรป (ECB) ...

30

2024-01

ภาวะตลาดเงินนิวยอร์ก: ดอลล์แข็งค่า จับตาประชุมเฟด-ตัวเลขจ้างงานสหรัฐ

InfoQuest - ดอลลาร์สหรัฐแข็งค่าเล็กน้อยเมื่อเทียบกับสกุลเงินหลัก ๆ ในการซื้อขายที่ตลาดปริวรรตเงินตรานิวยอร์กในวันจันทร์ (29 ม.ค.) ขณะที่นักลงทุนจับตาตัวเลขจ้างงานสหรัฐ และการประชุมนโยบายการเงินของธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ในสัปดาห์นี้ ทั้งนี้ ดัชนีดอลลาร์ซึ่งเป็นดัชนีวัดความเคลื่อนไหวของดอลลาร์เมื่อเทียบกับสกุลเงินหลัก 6 สกุลในตะกร้าเงิน เพิ่มขึ้น 0.17% แตะที่ระดับ 103.609 กระทรวงแรงงานสหรัฐจะเปิดเผยตัวเลขการจ้างงานนอกภาคเกษตรประจำเดือนม.ค.ในวันศุกร์นี้ ขณะที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ว่า ตัวเลขจ้างงานจะเพิ่มขึ้น 173,000 ตำแหน่งในเดือนม.ค. โดยชะลอตัวจากระดับ 216,000 ตำแหน่งในเดือนธ.ค. และคาดว่าอัตราว่างงานจะเพิ่มขึ้นสู่ระดับ 3.8% ในเดือนม.ค. จากระดับ 3.7% ในเดือนธ.ค. นักลงทุนเทน้ำหนักเกือบ 100% ต่อคาดการณ์ที่ว่าเฟดจะคงอัตราดอกเบี้ยที่ระดับ 5.25-5.50% ในการประชุมวันที่ 30-31 ม.ค.นี้ ขณะที่ผลการสำรวจข...

30

2024-01

ภาวะตลาดเงินบาท: ปิด 35.57/58 ตลาดรอความชัดเจนประชุมเฟดในสัปดาห์นี้

InfoQuest - นักบริหารเงินจากธนาคารกรุงเทพ เปิดเผยว่า เงินบาทปิดตลาดเย็นนี้อยู่ที่ระดับ 35.57/58 บาท/ดอลลาร์ จากช่วงเช้าที่ เปิดตลาดที่ระดับ 35.56 บาท/ดอลลาร์ โดยระหว่างวันเงินบาทเคลื่อนไหวในกรอบ 35.52 - 35.63 บาท/ดอลลาร์ เงินบาทเคลื่อนไหวในกรอบตามแรงซื้อแรงขายระหว่างวัน โดยทิศทางเงินบาทในช่วงนี้ขึ้นอยู่กับแนวโน้มเงินดอลลาร์ และ ราคาทองคำเป็นหลัก ส่วนมุมมองที่ตลาดมองว่าธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) จะลดดอกเบี้ย อยู่ระหว่างช่วงเดือนมี.ค.-พ.ค. แต่ตอนนี้ลดความน่า จะเป็นที่เฟดจะปรับลดดอกเบี้ยในเดือนมี.ค. ค่อนข้างมาก และคาดว่าจะลดดอกเบี้ยในเดือนพ.ค. มากกว่า อย่างไรก็ดี ช่วงนี้ต้องจับตา การประชุมเฟดวันที่ 30-31 ม.ค. นี้ สำหรับปัจจัยในประเทศ วันนี้ดัชนีความเชื่อมั่นอนาคตเศรษฐกิจภูมิภาคประจำเดือนม.ค. 67 แนวโน้มดีขึ้นเนื่องจากมี ภาคบริการและภาคการลงทุนช่วยสนับสนุน ซึ่งช่วงที่มีการรายงานดัชนี ส่งผลให้เงินบาท...

29

2024-01

ดอลลาร์แข็งค่าที่กรอบล่าง 148 เยน รับคาดการณ์ส่วนต่างดอกเบี้ยสหรัฐ-ญี่ปุ่นเพิ่ม

InfoQuest - ดอลลาร์สหรัฐยังคงแข็งค่าที่กรอบล่าง 148 เยนในตลาดโตเกียววันนี้ (29 ม.ค.) เนื่องจากนักลงทุนคาดการณ์ว่า ส่วนต่างอัตราดอกเบี้ยระหว่างสหรัฐและญี่ปุ่นจะขยายกว้างมากขึ้น หลังจากผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐปรับตัวขึ้นในวันศุกร์ที่ 26 ม.ค. สำนักข่าวเกียวโดรายงานว่า ณ เที่ยงวันนี้ตามเวลาโตเกียว ดอลลาร์เคลื่อนไหวที่ 148.12-148.13 เยน เทียบกับ 148.09-148.19 เยนที่ตลาดนิวยอร์ก และ 147.77-147.79 เยนที่ตลาดโตเกียวเมื่อเวลา 17.00 น.ของเมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมา ยูโรเคลื่อนไหวที่ 1.0842-1.0846 ดอลลาร์ และ 160.59-160.66 เยน เทียบกับ 1.0846-1.0856 ดอลลาร์ และ 160.73-160.83 เยนที่ตลาดนิวยอร์ก และ 1.0819-1.0820 ดอลลาร์ และ 159.88-159.92 เยนที่ตลาดโตเกียวในวันศุกร์ กดอ่านข่าวต้นฉบับจาก InfoQuest

29

2024-01

นักวิเคราะห์ต่างชาติคาดเงินบาทอ่อนค่าต่อเนื่อง หลังนักลงทุนต่างชาติขายสินทรัพย์ไทย

InfoQuest - สกุลเงินบาทไทยมีแนวโน้มเผชิญเดือนม.ค.ที่อ่อนค่าที่สุดนับตั้งแต่ปี 2563 โดยร่วงลงไปแล้วเกือบ 4% เมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐ และภาวะเงินไหลออกอย่างหนักหน่วงส่งสัญญาณว่าเงินบาทจะอ่อนค่าเพิ่ม สำนักข่าวบลูมเบิร์กรายงานว่า เงินบาทเคยเป็นค่าเงินที่ปรับตัวขึ้นมากที่สุดในกลุ่มตลาดเกิดใหม่เอเชียในไตรมาส 4/2566 ก่อนจะกลายเป็นค่าเงินที่ปรับตัวลดลงมากที่สุดในปีนี้ เนื่องจากกองทุนทั่วโลกเทขายสินทรัพย์ไทยท่ามกลางการโต้แย้งกันระหว่างรัฐบาลไทยกับธนาคารแห่งประเทศไทยเกี่ยวกับวิธีกระตุ้นเศรษฐกิจประเทศที่อ่อนแอลง นายจุลพันธ์ อมรวิวัฒน์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลังของไทยระบุในสัปดาห์ที่ผ่านมาว่า รัฐบาลไทยวิตกกังวลว่าต้นทุนการกู้ยืมเงินที่อยู่ในระดับสูงสุดในรอบ 10 ปีจะฉุดรั้งการฟื้นตัวของเศรษฐกิจไทย ซึ่งเกิดขึ้นหลังจากที่ธนาคารแห่งประเทศไทยปฏิเสธข้อเรียกร้องเรื่องการปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบาย โดยให้...

1 14 15 16 17 18 184