Skip to content

Interstellar Group

ในฐานะผลิตภัณฑ์การซื้อขายทางการเงินที่ซับซ้อน สัญญาส่วนต่าง Contracts for Difference (CFDs) มีความเสี่ยงสูงอย่างมากเนื่องจากคุณสมบัติของเลเวอเรจ บัญชีลูกค้าของนักลงทุนรายย่อยส่วนใหญ่มักบันทึกการสูญเสียเงินลงทุนในสัญญาส่วนต่างอย่างรวดเร็ว คุณควรพิจารณาว่า คุณมีความเข้าใจเกี่ยวกับกฎเกณฑ์การดำเนินงานของสัญญาส่วนต่าง และสามารถรับความเสี่ยงสูงของการสูญเสียเงินลงทุนได้หรือไม่    

ภาวะตลาดเงินบาท: เปิด 34.35 อ่อนค่าจากเย็นวันจันทร์ ตลาดจับตาสัญญาณทิศทางดอกเบี้ยจากกนง.วันนี้.

ISG
ประกาศ

เราขอแนะนำให้คุณปฏิบัติตามประกาศทางการตลาดของเรา

.right_news

A WORLD LEADER

IN FX & CFD TRADING

ตลาด
ข่าว

ข้อมูลทางการเงินทั่วโลกตลอด 24 ชั่วโมงและข่าวตลาดโลก

A WORLD LEADER

IN FX & CFD TRADING

การสนับสนุน &
ความรับผิดชอบต่อสังคม

InterStellar Group มีเป้าหมายที่จะเป็นบริษัทชั้นนำ และมีพลังในการสร้างผลกระทบที่ดีต่อโลก
นอกจากนี้เรายังมุ่งมั่นที่จะตอบแทนสังคม โดยตระหนักถึงคุณค่าของทุกคนเป็นส่วนสำคัญของชุมชนระดับโลกของเรา

A WORLD LEADER

IN FX & CFD TRADING

การสัมนาสดเกี่ยวกับฟอเร็กซ์

A WORLD LEADER

IN FX & CFD TRADING

03

2023-08

Date Icon
2023-08-03
การคาดการณ์สภาวะตลาด
ภาวะตลาดเงินบาท: เปิด 34.35 อ่อนค่าจากเย็นวันจันทร์ ตลาดจับตาสัญญาณทิศทางดอกเบี้ยจากกนง.วันนี้.

InfoQuest – นักบริหารเงินจากธนาคารกรุงศรีอยุธยา เปิดเผยว่า เงินบาทเปิดตลาดเช้านี้อยู่ที่ 34.35 บาท/ดอลลาร์ ปรับตัวอ่อนค่าจาก ปิดตลาดเมื่อเย็นวันจันทร์ที่ระดับ 34.20 บาท/ดอลลาร์ โดยดอลลาร์ปรับตัวแข็งค่าเมื่อเทียบกับสกุลเงินหลักเนื่องจากได้รับแรงหนุนจากบ อนด์ยีลด์ที่สูงขึ้น ทั้งที่ตัวเลขดัชนี ISM ออกมาต่ำกว่าคาด และฟิทช์ลดอันดับความน่าเชื่อถือของสหรัฐฯ ส่วนปัจจัยในประเทศน่าจะมีแรงหนุนจากผู้นำเข้าทองคำ หลังราคาในตลาดโลกลดลงกว่า 30 ดอลลาร์/ออนซ์ ขณะที่การ ประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) คาดว่าจะมีมติปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยอีก 0.25% แต่ต้องรอดูว่าจะส่งสัญญาณเรื่องทิศ ทางดอกเบี้ยในอนาคตอย่างไร “บาทอ่อนค่าจากเย็นวันจันทร์ ดอลลาร์แข็งค่าเมื่อเทียบกับสกุลเงินหลัก นักลงทุนอาจปรับพอร์ตหลังดอลลาร์อ่อนค่าเร็วเกิน ไป ทั้งที่ข้อมูลเศรษฐกิจของสหรัฐฯ ออกมาไม่ค่อยดี” นักบริหารเงิน กล่าว นักบริหารเงินประเมินกรอบการเคลื่อนไหวของเงินบาทในวันนี้ไว้ที่ 34.20 – 34.50 บาท/ดอลลาร์ THAI BAHT SPOT RATE FIXING อยู่ที่ระดับ 34.37750 บาท/ดอลลาร์

* ปัจจัยสำคัญ

– เงินเยนอยู่ที่ระดับ 143.11 เยน/ดอลลาร์ จากเย็นวันจันทร์ที่ระดับ 142.40/50 เยน/ดอลลาร์ – เงินยูโรอยู่ที่ระดับ 1.0993 ดอลลาร์/ยูโร จากเย็นวันจันทร์ที่ระดับ 1.1020/1030 ดอลลาร์/ยูโร – อัตราแลกเปลี่ยนเงินบาท/ดอลลาร์ ถัวเฉลี่ยถ่วงน้ำหนักระหว่างธนาคารของธปท.อยู่ที่ระดับ 34.259 บาท/ดอลลาร์ – คณะกรรมกานนโยบายการเงิน (กนง.) ประชุม ซึ่งหลายฝ่ายคาดว่า กนง. มีแนวโน้มที่จะปรับขึ้นดอกเบี้ยนโยบายอีก 0.25% มาอยู่ที่ระดับ 2.25% – “ธปท.” คาด ภาพรวมสินเชื่อครึ่งปีหลังขยายตัว ต่อเนื่องจากภาคท่องเที่ยวฟื้นตัวแต่ยังมีความเปราะบาง ต้องติดตาม คุณภาพหนี้ “เอสเอ็มอี-ครัวเรือน” ใกล้ชิด “กรุงไทย” ชี้ แม้สินเชื่อ ยังเติบโต แต่อาจชะลอลง หากเทียบกับที่ผ่านมา หลังภาคส่งออกวูบ – กรมเจรจาการค้าฯ ได้เข้าร่วมประชุมเจ้าหน้าที่อาวุโสด้านเศรษฐกิจ 3 เวทีสำคัญ ได้แก่ อาเซียน-สหราชอาณาจักร (ยู เค) ครั้งที่ 4 อาเซียน-รัสเซีย ครั้งที่ 15 และอาเซียน-กรรมาธิการยุโรปด้านการค้า ครั้งที่ 31 ที่อินโดนีเซีย เมื่อกลางเดือน ก.ค.ที่ ผ่านมา เพื่อติดตามความคืบหน้าแผนความร่วมมือด้านเศรษฐกิจ การค้า และการลงทุนระหว่างกัน รวมถึงการเตรียมการสำหรับการประชุม รัฐมนตรีเศรษฐกิจอาเซียนกับยูเค รัสเซีย และกรรมาธิการยุโรปด้านการค้า ในช่วงเดือน ส.ค.นี้ – รองประธานสภาองค์การนายจ้างผู้ประกอบการค้าและอุตสาหกรรมไทย (อีคอนไทย) เปิดเผยว่า การจัดตั้งรัฐบาลที่ขณะนี้ ยังไม่มีความคืบหน้า และถ้าล่าช้าออกไปมาก เกิดสุญญากาศนานเกินไป จะกระทบต่อความเชื่อมั่นต่อภาคธุรกิจที่เป็นแหล่งการจ้างงานและ การลงทุน ทั้งเพื่อขยายธุรกิจหรือลงทุนใหม่ – สถาบันจัดอันดับความน่าเชื่อถือ ฟิทช์ เรทติ้งส์ ประกาศลดอันดับความน่าเชื่อถือของสหรัฐ โดยระบุว่าสหรัฐมียอดขาดดุลงบ ประมาณที่สูงมากและมีระบบธรรมาภิบาลที่อ่อนแอลง ซึ่งส่งผลให้เผชิญกับปัญหาหนี้พุ่งชนเพดานหลายครั้งในช่วง 20 ปีที่ผ่านมา – สำนักงานสถิติของกระทรวงแรงงานสหรัฐ เปิดเผยผลสำรวจการเปิดรับสมัครงานและอัตราการหมุนเวียนของแรงงาน (JOLTS) ประจำเดือนมิ.ย. พบว่า ตัวเลขการเปิดรับสมัครงาน ซึ่งเป็นมาตรวัดอุปสงค์ในตลาดแรงงาน แตะระดับต่ำสุดในรอบกว่า 2 ปี นับตั้งแต่เดือนเม.ย. 2564 – ดอลลาร์สหรัฐแข็งค่าเมื่อเทียบกับสกุลเงินหลัก ๆ ในการซื้อขายที่ตลาดปริวรรตเงินตรานิวยอร์กในวันอังคาร (1 ส.ค.) ขานรับข้อมูลเศรษฐกิจที่แข็งแกร่งของสหรัฐ ขณะที่นักลงทุนจับตาข้อมูลแรงงานของสหรัฐในสัปดาห์นี้ รวมทั้งถ้อยแถลงของเจ้าหน้าที่ธนาคาร กลางสหรัฐ (เฟด) เพื่อหาสัญญาณบ่งชี้ทิศทางอัตราดอกเบี้ยของเฟด – สัญญาทองคำตลาดนิวยอร์กปิดร่วงลงกว่า 30 ดอลลาร์ในวันอังคาร (1 ส.ค.) เนื่องจากการแข็งค่าของสกุลเงินดอลลาร์ และการพุ่งขึ้นของอัตราผลตอบแทนพันธบัตรเป็นปัจจัยกดดันตลาด ขณะที่นักลงทุนจับตาข้อมูลแรงงานของสหรัฐในสัปดาห์นี้ เพื่อประเมินทิศ ทางอัตราดอกเบี้ยของธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) – นักลงทุนจับตาข้อมูลแรงงานของสหรัฐในสัปดาห์นี้ เพื่อประเมินทิศทางอัตราดอกเบี้ยของเฟด โดยในวันนี้จะมีการเปิดเผย ตัวเลขจ้างงานภาคเอกชนเดือนก.ค.จาก ADP และวันพฤหัสบดีจะเปิดเผยจำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานรายสัปดาห์ ส่วนในวันศุกร์ กระทรวงแรงงานสหรัฐจะเปิดเผยตัวเลขจ้างงานนอกภาคเกษตรเดือนก.ค. ขณะที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ว่า ตัวเลขจ้างงานจะเพิ่มขึ้น 200,000 ตำแหน่งในเดือนก.ค. หลังจากที่เพิ่มขึ้น 209,000 ตำแหน่งในเดือนมิ.ย. และคาดว่าอัตราว่างงาน จะทรงตัวที่ระดับ 3.6% ในเดือนก.ค.

กดอ่านข่าวต้นฉบับจาก InfoQuest

InfoQuest – นักบริหารเงินจากธนาคารกรุงศรีอยุธยา เปิดเผยว่า เงินบาทเปิดตลาดเช้านี้อยู่ที่ 34.35 บาท/ดอลลาร์ จากปิดตลาดเย็น วันศุกร์ที่ระดับ 34.18 บาท/ดอลลาร์ เงินบาทอ่อนค่าเทียบท้ายตลาด เช่นเดียวกับสกุลเงินในภูมิภาค เนื่องจากเมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมา ดอลลาร์แข็งค่าเทียบทุกสกุล เงิน จาก Flow สิ้นไตรมาส 1/66 ประกอบกับวานนี้มีข่าวว่าโอเปกพลัส จะปรับลดการผลิตน้ำมัน ทำให้ตลาดกังวลเรื่องเงินเฟ้อ จากราคาน้ำมันที่อาจเพิ่มขึ้นในอนาคต นักบริหารเงินประเมินกรอบการเคลื่อนไหวของเงินบาทในวันนี้ไว้ที่ 34.15 – 34.40 บาท/ดอลลาร์ ปัจจัยที่ต้องติดตามคืน นี้ คือ ดัชนีภาคการผลิตเดือนมี.ค. จากสถาบันจัดการด้านอุปทานของสหรัฐ (ISM) THAI BAHT FIX 3M (31 มี.ค.) อยู่ที่ระดับ 1.61335% ส่วน THAI BAHT FIX 6M อยู่ที่ระดับ 1.83329% SPOT ล่าสุด อยู่ที่ระดับ 34.43250 บาท/ดอลลาร์

* ปัจจัยสำคัญ

– เงินเยนอยู่ที่ระดับ 133.08 เยน/ดอลลาร์ จากช่วงเย็นวันศุกร์ที่ระดับ 133.48 เยน/ดอลลาร์ – เงินยูโรอยู่ที่ระดับ 1.0806 ดอลลาร์/ยูโร จากช่วงเย็นวันศุกร์ที่ระดับ 1.0890 ดอลลาร์/ยูโร – อัตราแลกเปลี่ยนเงินบาท/ดอลลาร์ ถัวเฉลี่ยถ่วงน้ำหนักระหว่างธนาคารของ ธปท.อยู่ที่ระดับ 34.095 บาท/ดอลลาร์ – “ฟิทช์” คาดการณ์ปี 2566 แบงก์ไทยผลงานฟื้นตัว หลังตั้งสำรองหนี้สูญลด-สินเชื่อโตต่อเนื่อง ห่วงมาตรการอุ้มลูกหนี้ทยอย หมดอายุ กดดันคุณภาพสินทรัพย์ ด้าน “SCB EIC” ขยับคาดการณ์จีดีพีไทยแตะ 3.9% รับอานิสงส์ท่องเที่ยวและบริการฟื้นตัว – กรรมการผู้จัดการ ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย (ธสน.) หรือ เอ็กซิมแบงก์ เปิดเผยว่า ภาพรวมภาคการส่งออกไทยปีนี้มีแนวโน้มติดลบสูง จากภาวะเศรษฐกิจโลกและกำลังซื้อของคู่ค้าที่ชะลอตัวค่อนข้างเร็วและแรงกว่าที่คาด แต่ ยังมีความหวังจากตลาดตะวันออกกลางและจีนที่กลับมาเปิดประเทศ แม้ส่งออกปีนี้จะติดลบ แต่ไม่กระทบธสน.เพราะมีสัดส่วนปล่อยกู้เพื่อการ ลงทุนต่างประเทศมากถึง 70% ขณะที่อีก 30% เป็นสินเชื่อเพื่อการค้า โดยการลงทุนในต่างแดนยังมีการขยายตัวดี จึงมั่นใจว่าปีนี้จะปล่อยกู้ ใหม่ได้ 20,000 ล้านบาท และมีสินเชื่อคงค้าง 1.75 แสนล้านบาท – เศรษฐกิจโลกถดถอยฉุด “สตาร์ตอัพไทย” วิกฤติส่อปิดตัว เหตุขาดแหล่งเงินทุนสนับสนุนทั้งจากบิ๊กคอร์ป และสถาบันการ เงิน ซ้ำร้ายบุคลากรไม่เพียงพอ ด้านนายกสมาคมฯแนะปรับมายด์เซ็ต มองไกล ระดับโลก ขณะที่ “บิทคับ” ชี้ เวนเจอร์แคปฯ หยุดเติม เงินจนกว่าเฟดจะหยุดขึ้นดอกเบี้ย เงินเฟ้อสหรัฐเหลือ 2% – กระทรวงพาณิชย์สหรัฐเปิดเผยในวันศุกร์ว่า ดัชนี PCE ทั่วไป ซึ่งรวมหมวดอาหารและพลังงาน เพิ่มขึ้น 5.0% ในเดือนก. พ. เมื่อเทียบรายปี ต่ำกว่าที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ที่ระดับ 5.1% และชะลอตัวจากระดับ 5.3% ในเดือนม.ค. – กระทรวงพาณิชย์สหรัฐเปิดเผยในวันศุกร์ว่า การใช้จ่ายส่วนบุคคลของผู้บริโภคสหรัฐเพิ่มขึ้น 0.2% ในเดือนก.พ. ต่ำกว่า ตัวเลขคาดการณ์ของนักวิเคราะห์ที่ระดับ 0.3% หลังจากพุ่งขึ้น 2.0% ในเดือนม.ค. ขณะที่รายได้ส่วนบุคคลเพิ่มขึ้น 0.3% ในเดือนก.พ. และอัตราการออมเพิ่มขึ้นสู่ระดับ 4.6% จากระดับ 4.4% ในเดือนม.ค. – ยอดเงินฝากของธนาคารพาณิชย์สหรัฐทั้งหมดลดลงในสัปดาห์ที่สิ้นสุดในวันที่ 22 มี.ค. สู่ระดับต่ำสุดนับตั้งแต่เดือนส.ค. แต่ ลดลงในอัตราที่ชะลอตัวกว่าในสัปดาห์ก่อนหน้า และยอดเงินฝากเริ่มมีเสถียรภาพสำหรับธนาคารขนาดเล็กซึ่งมีความเปราะบางต่อการแห่ ถอนเงินฝากหลังการล่มสลายของธนาคารซิลิคอน วัลเลย์ แบงก์ (SVB) – กลุ่มประเทศผู้ส่งออกน้ำมัน (โอเปก) และชาติพันธมิตร หรือโอเปกพลัส ประกาศปรับลดการผลิตน้ำมันลงอีก 1.16 ล้าน บาร์เรล/วัน ซึ่งสร้างความประหลาดใจให้กับตลาด ขณะที่นักวิเคราะห์มองว่าการตัดสินใจดังกล่าวของโอเปกพลัสจะส่งผลให้ราคาน้ำมันพุ่ง ขึ้นอย่างรุนแรง และอาจสร้างความไม่พอใจให้กับรัฐบาลสหรัฐที่ต้องการให้โอเปกพลัสเพิ่มการผลิตน้ำมัน – ข้อมูลเศรษฐกิจที่สำคัญของสหรัฐฯ ในสัปดาห์นี้ ได้แก่ ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) กาคการผลิตเดือนมี.ค. จาก เอสแอนด์พี โกลบอล, ดัชนีภาคการผลิตเดือนมี.ค.จากสถาบันจัดการด้านอุปทานของสหรัฐ (ISM), ยอดนำเข้า ยอดส่งออก และดุลการ ค้าเดือนก.พ., ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) ภาคบริการขั้นสุดท้ายเดือนมี.ค. จากเอสแอนด์พี โกลบอล, ดัชนีภาคบริการเดือนมี.ค. จากสถาบันจัดการด้านอุปทานของสหรัฐ (ISM), สต็อกน้ำมันรายสัปดาห์จากสำนักงานสารสนเทศด้านพลังงานสหรัฐ (EIA), จำนวนผู้ขอ รับสวัสดิการว่างงานรายสัปดาห์ และตัวเลขจ้างงานนอกภาคเกษตรเดือนมี.ค.

กดอ่านข่าวต้นฉบับจาก InfoQuest

ล่าสุด
ข่าว