Skip to content

Interstellar Group

ในฐานะผลิตภัณฑ์การซื้อขายทางการเงินที่ซับซ้อน สัญญาส่วนต่าง Contracts for Difference (CFDs) มีความเสี่ยงสูงอย่างมากเนื่องจากคุณสมบัติของเลเวอเรจ บัญชีลูกค้าของนักลงทุนรายย่อยส่วนใหญ่มักบันทึกการสูญเสียเงินลงทุนในสัญญาส่วนต่างอย่างรวดเร็ว คุณควรพิจารณาว่า คุณมีความเข้าใจเกี่ยวกับกฎเกณฑ์การดำเนินงานของสัญญาส่วนต่าง และสามารถรับความเสี่ยงสูงของการสูญเสียเงินลงทุนได้หรือไม่    

ภาวะตลาดเงินบาท: เปิด 34.74 แนวโน้มแกว่งไซด์เวย์ รอปัจจัยใหม่ ให้กรอบวันนี้ 34.60-34.90

ISG
ประกาศ

เราขอแนะนำให้คุณปฏิบัติตามประกาศทางการตลาดของเรา

.right_news

A WORLD LEADER

IN FX & CFD TRADING

ตลาด
ข่าว

ข้อมูลทางการเงินทั่วโลกตลอด 24 ชั่วโมงและข่าวตลาดโลก

A WORLD LEADER

IN FX & CFD TRADING

การสนับสนุน &
ความรับผิดชอบต่อสังคม

InterStellar Group มีเป้าหมายที่จะเป็นบริษัทชั้นนำ และมีพลังในการสร้างผลกระทบที่ดีต่อโลก
นอกจากนี้เรายังมุ่งมั่นที่จะตอบแทนสังคม โดยตระหนักถึงคุณค่าของทุกคนเป็นส่วนสำคัญของชุมชนระดับโลกของเรา

A WORLD LEADER

IN FX & CFD TRADING

การสัมนาสดเกี่ยวกับฟอเร็กซ์

A WORLD LEADER

IN FX & CFD TRADING

08

2023-06

Date Icon
2023-06-08
การคาดการณ์สภาวะตลาด
ภาวะตลาดเงินบาท: เปิด 34.74 แนวโน้มแกว่งไซด์เวย์ รอปัจจัยใหม่ ให้กรอบวันนี้ 34.60-34.90

InfoQuest – นักบริหารเงินจากธนาคารกรุงศรีอยุธยา เปิดเผยว่า เงินบาทเปิดตลาดเช้านี้อยู่ที่ 34.74 บาท/ดอลลาร์ จาก ปิดตลาดเย็น วานนี้ที่ระดับ 34.79 บาท/ดอลลาร์ เงินบาทแข็งค่าเทียบท้ายตลาด เคลื่อนไหวในทิศทางเดียวกับภูมิภาค เมื่อคืนยังไม่มีปัจจัยใหม่ ภาพใหญ่ เงินบาทน่าจะเคลื่อน ไหว Sideway รอติดตามการประชุมกำหนดนโยบายการเงิน (FOMC) และดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) ของสหรัฐฯ ใน สัปดาห์หน้าเป็นหลัก นักบริหารเงิน ประเมินกรอบการเคลื่อนไหวของเงินบาทในวันนี้ไว้ที่ 34.60 – 34.90 บาท/ดอลลาร์ สำหรับ ปัจจัยที่ ต้องติดตามระหว่างวัน คือ ดุลการค้าเดือนพ.ค. ของจีน และ Flow ต่างประเทศ THAI BAHT FIX 3M (6 มิ.ย.) อยู่ที่ระดับ 1.86465% ส่วน THAI BAHT FIX 6M อยู่ที่ระดับ 2.03560% SPOT ล่าสุด อยู่ที่ระดับ 34.76250 บาท/ดอลลาร์

* ปัจจัยสำคัญ

– เงินเยนอยู่ที่ 139.34 เยน/ดอลลาร์ จากเย็นวานนี้ที่ระดับ 139.35 เยน/ดอลลาร์ – เงินยูโรอยู่ที่ระดับ 1.0693 ดอลลาร์/ยูโร จากเย็นวานนี้ที่ระดับ 1.0694 ดอลลาร์/ยูโร – อัตราแลกเปลี่ยนเงินบาท/ดอลลาร์ ถัวเฉลี่ยถ่วงน้ำหนักระหว่างธนาคารอยู่ที่ระดับ 34.763 บาท/ดอลลาร์ – รายงานข่าวจากธนาคารพาณิชย์ เปิดเผยว่า ธนาคารพาณิชย์ได้ทยอยประกาศปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยเงินกู้และเงินฝาก ตามดอกเบี้ยนโยบายของคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) ที่ปรับขึ้น 0.25% ล่าสุดมาอยู่ที่ 2% ซึ่งแต่ละธนาคารยังคงให้ความสำคัญ ในการดูแลลูกค้าในฝั่งเงินกู้ท่ามกลางภาวะครองชีพสูงขึ้น โดยมีโปรแกรมต่างๆ ให้ความช่วยเหลือ – เจ้าหน้าที่ทำเนียบขาวฝ่ายประสานงานด้านอินโด-แปซิฟิกกล่าวว่า ประเทศไทยกำลังเผชิญกับสถานการณ์การเมืองที่เปราะ บางภายหลังการเลือกตั้งเสร็จสิ้นลงในเดือนที่แล้ว และเป้าหมายของสหรัฐคือการสนับสนุนรัฐบาลประชาธิปไตยที่มีประสิทธิภาพและมี เสถียรภาพ – ธนาคารโลกออกรายงานแนวโน้มเศรษฐกิจโลก โดยได้ปรับเพิ่มตัวเลขคาดการณ์การขยายตัวของเศรษฐกิจโลกในปีนี้สู่ ระดับ 2.1% สูงกว่าตัวเลขคาดการณ์ในเดือนม.ค.ที่ระดับ 1.7% แต่ปรับลดตัวเลขคาดการณ์ปี 2567 สู่ระดับ 2.4% ต่ำกว่าตัวเลขคาด การณ์ในเดือนม.ค.ที่ระดับ 2.7% – ดอลลาร์สหรัฐแข็งค่าเมื่อเทียบกับสกุลเงินหลัก ๆ ในการซื้อขายที่ตลาดปริวรรตเงินตรานิวยอร์กในวันอังคาร (6 มิ.ย.) โดยดอลลาร์ปรับตัวตามทิศทางอัตราผลตอบแทนพันธบัตรสหรัฐที่ดีดตัวขึ้นเมื่อคืนนี้ ขณะที่นักลงทุนจับตาการเปิดเผยตัวเลขเงินเฟ้อของสหรัฐ และการประชุมนโยบายการเงินของธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ในสัปดาห์หน้า – สัญญาทองคำตลาดนิวยอร์กปิดบวกติดต่อกันเป็นวันที่ 2 ในวันอังคาร (6 มิ.ย.) โดยได้ปัจจัยบวกจากการคาดการณ์ที่ว่า ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) จะคงอัตราดอกเบี้ยในการประชุมสัปดาห์หน้า – ข้อมูลเศรษฐกิจสหรัฐสำคัญที่เปิดเผยในวันนี้ ได้แก่ ยอดนำเข้า ยอดส่งออก และดุลการค้าเดือนเม.ย. รวมถึงสต็อกน้ำมัน รายสัปดาห์จากสำนักงานสารสนเทศด้านพลังงานสหรัฐ (EIA) – นักลงทุนจับตาการประชุมนโยบายการเงินของเฟดในวันที่ 13-14 มิ.ย.นี้ ขณะที่ตลาดคาดการณ์ว่าเฟดจะคงอัตราดอกเบี้ย ไว้ที่ระดับ 5.00-5.25% ในการประชุมครั้งนี้ ล่าสุด FedWatch Tool ของ CME Group บ่งชี้ว่า นักลงทุนให้น้ำหนัก 75.9% ที่เฟดจะคงอัตราดอกเบี้ยที่ระดับ 5.00- 5.25% ในการประชุมวันที่ 13-14 มิ.ย. และให้น้ำหนักเพียง 24.1% ที่เฟดจะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย 0.25% สู่ระดับ 5.25-5.50% – นักลงทุนยังรอดูสหรัฐเปิดเผยดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) ประจำเดือนพ.ค.ในวันอังคารที่ 13 มิ.ย. และดัชนีราคาผู้ผลิต (PPI) ประจำเดือนพ.ค.ในวันพุธที่ 14 มิ.ย. โดยดัชนี CPI เป็นมาตรวัดเงินเฟ้อจากการใช้จ่ายของผู้บริโภค และดัชนี PPI เป็นมาตร วัดเงินเฟ้อจากการใช้จ่ายของผู้ผลิต

กดอ่านข่าวต้นฉบับจาก InfoQuest

ล่าสุด
ข่าว