InfoQuest – นักบริหารเงินจากธนาคารกรุงศรีอยุธยา เปิดเผยว่า เงินบาทปิดตลาดเย็นนี้อยู่ที่ 34.96 บาท/ดอลลาร์ แข็งค่าต่อเนื่องจาก เปิดตลาดเมื่อเช้าอยู่ที่ระดับ 34.98 บาท/ดอลลาร์ หลังดอลลาร์ปรับตัวอ่อนค่าตามบอนด์ยีลด์ที่ลดลง ระหว่างวันเงินบาทเคลื่อนไหวใน กรอบ 34.87 – 35.00 บาท/ดอลลาร์ “บาทขยับแข็งค่าเกาะกลุ่มไปกับค่าเงินภูมิภาค หลังดอลลาร์อ่อนค่าตามบอนด์ยีลด์ที่ปรับตัวลดลง” นัก บริหารเงิน กล่าว นักบริหารเงิน ประเมินกรอบการเคลื่อนไหวของเงินบาทในวันพรุ่งนี้ไว้ที่ 34.80 – 35.05 บาท/ดอลลาร์ โดยคืนนี้ตลาดรอ ดูตัวเลขดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคจองสหรัฐฯ ส่วนพรุ่งนี้จะมีการประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) ซึ่งตลาดคาดว่าจะมีมติคง อัตราดอกเบี้ย แต่จะมีการประเมินภาวะเศรษฐกิจอย่างไร ส่วนการดำเนินโครงการดิจิทัลวอลเล็ตนั้นตลาดมองว่าเกิดขึ้นได้ยาก
* ปัจจัยสำคัญ
– เงินเยน อยู่ที่ระดับ 148.61 เยน/ดอลลาร์ จากเมื่อเช้าที่ระดับ 149.12 เยน/ดอลลาร์ – เงินยูโร อยู่ที่ระดับ 1.0946 ดอลลาร์/ยูโร จากเมื่อเช้าที่ระดับ 1.0956 ดอลลาร์/ยูโร – ดัชนี SET ปิดวันนี้ที่ระดับ 1,401.42 จุด เพิ่มขึ้น 8.00 จุด, +0.57% มูลค่าการซื้อขาย 37,070.12 ล้าน บาท – สรุปปริมาณการซื้อขายรายกลุ่ม ต่างชาติซื้อสุทธิ 813.81 ล้านบาท – รมว.ท่องเที่ยว เผยยอดนักท่องเที่ยวต่างชาติสะสมตั้งแต่วันที่ 1 ม.ค.-26 พ.ย.66 มีทั้งสิ้น 24,487,178 คน สร้าง รายได้จากการใช้จ่ายของนักท่องเที่ยวต่างชาติแล้ว 1,039,530 ล้านบาท โดยนักท่องเที่ยวต่างชาติที่เดินทางเข้าไทยมากที่สุด 5 อันดับ แรก ได้แก่ มาเลเซีย จีน เกาหลีใต้ อินเดีย และรัสเซีย ตามลำดับ – ผู้ว่าการ ธปท.แสดงความกังวลเกี่ยวกับหนี้สินภาคครัวเรือนของไทยที่อยู่ในระดับสูง โดยขณะนี้มีสัดส่วนสูงถึง 90% ของตัว เลขผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) ส่วนปัจจัยอื่นๆ ที่สร้างความซับซ้อนให้กับนโยบายการเงินนั้น รวมถึงการขยายตัวของสินเชื่อ สำหรับธุรกิจขนาดเล็กและขนาดกลางที่ชะลอตัวลง และการท่องเที่ยวจากจีนที่ไม่สามารถฟื้นตัวกลับสู่ระดับเดียวกับช่วงก่อนเกิดโรคโควิด- 19 ระบาด – ผู้ว่าการธนาคารกลางจีน ยืนยันว่าธนาคารกลางจีนจะเดินหน้าใช้นโยบายผ่อนคลายการเงินต่อไป พร้อมกล่าวว่าอัตราเงิน เฟ้อของจีนได้ปรับตัวลงสู่ระดับต่ำสุดแล้ว และมีแนวโน้มที่จะดีดตัวขึ้นเล็กน้อยในอีกไม่กี่เดือนข้างหน้า – สถาบันวิจัยตลาด GfK และสถาบันนูเร็มเบิร์กเพื่อการตัดสินใจตลาด เผยดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคของเยอรมนีเพิ่มขึ้นเล็ก น้อยมาอยู่ที่ -27.8 ในเดือน ธ.ค.จากระดับ -28.3 ในเดือน พ.ย.เนื่องจากผู้คนเต็มใจที่จะจับจ่ายมากขึ้นท่ามกลางภาวะเงินเฟ้อที่ผ่อน คลายลง แม้ภาวะเศรษฐกิจโดยรวมจะยังซบเซาก็ตาม – นักลงทุนยังจับตารอการเปิดเผยข้อมูลเศรษฐกิจในสัปดาห์นี้รวมถึง อัตราเงินเฟ้อของยูโรโซน และดัชนีราคาการใช้จ่าย เพื่อการบริโภคส่วนบุคคล (PCE) เดือนต.ค. ของสหรัฐ ซึ่งเป็นมาตรวัดอัตราเงินเฟ้อของธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) เพื่อพิจารณาทิศ ทางเกี่ยวกับทิศทางนโยบายทางการเงินต่อไป
กดอ่านข่าวต้นฉบับจาก InfoQuest