InfoQuest – นักบริหารเงินจากธนาคารกรุงศรีอยุธยา เปิดเผยว่า เงินบาทเปิดตลาดเช้านี้อยู่ที่ระดับ 35.63 บาท/ดอลลาร์ จาก เย็นวันศุกร์ที่ระดับ 35.31 บาท/ดอลลาร์ โดยเงินบาทอ่อนค่าจากท้ายตลาด เนื่องจากวันศุกร์ที่ผ่านมาตัวเลขการจ้างงานนอกภาคเกษตรของสหรัฐฯ ออกมาแข็ง แกร่งกว่าที่ตลาดคาด ส่งผลให้อัตราผลตอบแทนพันธบัตรสหรัฐเด้งกลับขึ้นมา ทำให้ดอลลาร์แข็งค่า ประกอบกับทองคำหลุด 2,000 เหรียญไปแล้ว จึงคาดว่ามี flow ฝั่งทองคำ ทำให้บาทอ่อนค่าด้วย ปัจจัยที่ตลาดรอติดตามวันนี้ คือ ดัชนีราคาผู้บริโภคของสหรัฐฯ (CPI) นักบริหารเงิน คาดว่า วันนี้เงินบาทจะเคลื่อนไหวในกรอบ 35.55 – 35.80 บาท/ดอลลาร์ SPOT ล่าสุด อยู่ที่ระดับ 35.61500 บาท/ดอลลาร์
* ปัจจัยสำคัญ – เงินเยนอยู่ที่ระดับ 145.64 เยน/ดอลลาร์ จากเย็นวันศุกร์ที่ระดับ 144.26 เยน/ดอลลาร์ – เงินยูโรอยู่ที่ระดับ 1.0766 ดอลลาร์/ยูโร จากเย็นวันศุกร์ที่ระดับ 1.0774 ดอลลาร์/ยูโร – อัตราแลกเปลี่ยนเงินบาท/ดอลลาร์ ถัวเฉลี่ยถ่วงน้ำหนักระหว่างธนาคารของธปท. อยู่ที่ระดับ 35.268 บาท/ ดอลลาร์ – รมว.พาณิชย์ เตรียมนำภาคเอกชนไปเจรจาการค้า และจัดกิจกรรมจับคู่เจรจาการค้าในนครคุนหมิง ประเทศจีน และในระหว่างการเยือน ระหว่างวันที่ 17-18 ธ.ค.2566 เพื่อลงนามในเอ็มโอยูเพื่อซื้อขายสินค้าเกษตร ระหว่างภาคเอกชนของ ทั้ง 2 ประเทศ เบื้องต้นมียอดมูลค่าการซื้อขายสินค้าประมาณ 5,600 ล้านบาท ซึ่งจะมีมันสำปะหลัง และผลิตภัณฑ์มันสำปะหลังของผู้ ประกอบการใน จ.นครราชสีมา, สินค้าเกษตรและเกษตรแปรรูป และผลิตภัณฑ์อาหารสำเร็จรูป – ททท. กางแผนยุทธศาสตร์ปี 67 สานเป้าใหม่รัฐบาล เร่งรายได้ตลาดต่างประเทศเพิ่มอีก 5 แสนล้าน หนุนรายได้ รวมแตะ 3.5 ล้านล้านบาท อ้อนรัฐของบ ทำตลาดสู้คู่แข่งดันไทยยืนหนึ่งเวทีโลก จ่อชงยาแรงต่ออายุ “วีซ่าฟรี” พร้อมขยายตลาด เพิ่มวันพำนัก กระตุ้นใช้จ่าย ด้านทัวริสต์จีน ตั้งเป้าโตก้าวกระโดด 8.5 ล้านคน ผนึกแอตต้า เดินหน้าโรดโชว์แดนมังกร 11-15 ธ.ค. ปลุกเชื่อมั่นดึงตลาดกรุ๊ปทัวร์ – “หอการค้า” เผยเอสเอ็มอี ภาคท่องเที่ยวเริ่มฟื้นตัว โดยเฉพาะกลุ่มภัตตาคาร สถานบันเทิง ขนส่ง ด้าน “กลุ่ม สปา-ของที่ระลึก” ยังน่าห่วง ชงรัฐ 3 แนวทางช่วยเหลือ ด้านสมาคมโรงแรมไทย ชี้แนวโน้มธุรกิจโรงแรมท่องเที่ยวปี 67 ตลาด ดาวรุ่ง โดดเด่น คือ อินเดีย เกาหลีใต้ ตะวันออกกลาง เวียดนาม และ อินโดนีเซีย – รายงานข่าวจากศูนย์วิจัยกสิกรไทย เปิดเผยว่า ในการประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงินของธนาคารกลาง สหรัฐ (เฟด) วันที่ 12-13 ธ.ค.66 คาดว่าเฟดจะคงดอกเบี้ยนโยบายที่ 5.25-5.50% ต่อเนื่อง หลังจากเงินเฟ้อสหรัฐลดลงกว่า คาด และตลาดแรงงานสหรัฐเริ่มส่งสัญญาณอ่อนแรงลง แม้เงินเฟ้อสหรัฐจะทรงตัวในระดับสูงกว่าเป้าหมายของเฟดที่ 2% ค่อนข้าง มาก แต่ทิศทางเงินเฟ้อที่ชะลอลงประกอบกับตัวเลขยอดค้าปลีกและการใช้จ่ายผู้บริโภคที่อ่อนแรงลงก็ช่วยลดความกังวลเกี่ยวกับแรง กดดันด้านเงินเฟ้อในสหรัฐ – การประชุมสหประชาชาติว่าด้วยการค้าและการพัฒนา หรือ อังค์ถัด (UNCTAD) คาดการณ์ในรายงานอัปเดตการค้า โลก (Global Trade Update) ว่า การค้าทั่วโลกน่าจะหดตัวลง 5% แตะระดับประมาณ 30.7 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐในปี 2566 เมื่อเทียบกับปีที่แล้ว โดยมีสาเหตุส่วนหนึ่งจากการที่ประเทศพัฒนาแล้วส่งออกได้ค่อนข้างซบเซา ขณะที่ราคาสินค้าโภคภัณฑ์ก็ ปรับตัวลงด้วย – ดอลลาร์สหรัฐยังคงแข็งค่าเมื่อเทียบกับสกุลเงินหลัก ๆ ในการซื้อขายที่ตลาดปริวรรตเงินตรานิวยอร์กในวันจันทร์ (11 ธ.ค.) ขณะที่นักลงทุนจับตาการเปิดเผยข้อมูลเงินเฟ้อของสหรัฐซึ่งรวมถึงดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) และการประชุมนโยบาย การเงินของธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ในสัปดาห์นี้ เพื่อหาสัญญาณบ่งชี้ทิศทางอัตราดอกเบี้ยของเฟด – สัญญาทองคำตลาดนิวยอร์กปิดร่วงลงในวันจันทร์ (11 ธ.ค.) โดยสัญญาทองคำปิดในแดนลบติดต่อกันเป็นวันที่ 3 และร่วงหลุดจากระดับ 2,000 ดอลลาร์ เนื่องจากการแข็งค่าของดอลลาร์เป็นปัจจัยกดดันตลาด ขณะที่นักลงทุนจับตาการเปิดเผย ข้อมูลเงินเฟ้อของสหรัฐและการประชุมนโยบายการเงินของธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ในสัปดาห์นี้ – สหรัฐมีกำหนดเปิดเผยดัชนี CPI ประจำเดือนพ.ย.ในวันนี้ เวลาประมาณ 20.30 น.ตามเวลาไทย และจากนั้นจะ เปิดเผยดัชนีราคาผู้ผลิต (PPI) เดือนพ.ย.ในวันพุธ โดยนักลงทุนจับตาข้อมูลเหล่านี้อย่างใกล้ชิดเพื่อประเมินแนวโน้มเงินเฟ้อของ สหรัฐ รวมทั้งจับตาการประชุมนโยบายการเงินของเฟดในวันที่ 12-13 ธ.ค.นี้ – ข้อมูลล่าสุดจาก FedWatch Tool ของ CME Group บ่งชี้ว่า นักลงทุนส่วนใหญ่คาดการณ์ว่า เฟดจะคงอัตรา ดอกเบี้ยที่ระดับ 5.25-5.50% ในการประชุมวันที่ 12-13 ธ.ค.นี้ แต่ให้น้ำหนักเพียง 43% ที่เฟดจะปรับลดอัตราดอกเบี้ยในเดือน มี.ค. 2567 และให้น้ำหนักเกือบ 75% ที่เฟดจะปรับลดอัตราดอกเบี้ยในเดือนพ.ค. 2567 – ข้อมูลเศรษฐกิจด้านอื่น ๆ ของสหรัฐในสัปดาห์นี้ ได้แก่ ดัชนีความเชื่อมั่นของธุรกิจขนาดย่อมเดือนพ.ย.จากสหพันธ์ ธุรกิจอิสระแห่งชาติสหรัฐ (NFIB), จำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานรายสัปดาห์, ยอดค้าปลีกเดือนพ.ย., การผลิตภาคอุตสาหกร รมเดือนพ.ย., ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) ภาคการผลิตขั้นต้นเดือนธ.ค.จากเอสแอนด์พี โกลบอล และดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) ภาคบริการขั้นต้นเดือนธ.ค.จากเอสแอนด์พี โกลบอล – นอกจากตลาดรอผลการประชุมนโยบายการเงิน ตัวเลขประมาณการ และ Dot Plots ของธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) แล้ว ยังรอติดตามผลการประชุมธนาคารกลางยุโรป (ECB) และธนาคารกลางอังกฤษ (BoE) ด้วย
กดอ่านข่าวต้นฉบับจาก InfoQuest