Skip to content

Interstellar Group

ในฐานะผลิตภัณฑ์การซื้อขายทางการเงินที่ซับซ้อน สัญญาส่วนต่าง Contracts for Difference (CFDs) มีความเสี่ยงสูงอย่างมากเนื่องจากคุณสมบัติของเลเวอเรจ บัญชีลูกค้าของนักลงทุนรายย่อยส่วนใหญ่มักบันทึกการสูญเสียเงินลงทุนในสัญญาส่วนต่างอย่างรวดเร็ว คุณควรพิจารณาว่า คุณมีความเข้าใจเกี่ยวกับกฎเกณฑ์การดำเนินงานของสัญญาส่วนต่าง และสามารถรับความเสี่ยงสูงของการสูญเสียเงินลงทุนได้หรือไม่    

ภาวะตลาดเงินบาท: เปิด 34.97 อ่อนค่า หลังบอนด์ยีลด์หนุนดอลลาร์แข็งค่า ให้กรอบ 34.85-35.15

ISG
ประกาศ

เราขอแนะนำให้คุณปฏิบัติตามประกาศทางการตลาดของเรา

.right_news

A WORLD LEADER

IN FX & CFD TRADING

ตลาด
ข่าว

ข้อมูลทางการเงินทั่วโลกตลอด 24 ชั่วโมงและข่าวตลาดโลก

A WORLD LEADER

IN FX & CFD TRADING

การสนับสนุน &
ความรับผิดชอบต่อสังคม

InterStellar Group มีเป้าหมายที่จะเป็นบริษัทชั้นนำ และมีพลังในการสร้างผลกระทบที่ดีต่อโลก
นอกจากนี้เรายังมุ่งมั่นที่จะตอบแทนสังคม โดยตระหนักถึงคุณค่าของทุกคนเป็นส่วนสำคัญของชุมชนระดับโลกของเรา

A WORLD LEADER

IN FX & CFD TRADING

การสัมนาสดเกี่ยวกับฟอเร็กซ์

A WORLD LEADER

IN FX & CFD TRADING

18

2023-12

Date Icon
2023-12-18
การคาดการณ์สภาวะตลาด
ภาวะตลาดเงินบาท: เปิด 34.97 อ่อนค่า หลังบอนด์ยีลด์หนุนดอลลาร์แข็งค่า ให้กรอบ 34.85-35.15

InfoQuest – นักบริหารเงินจากธนาคารกรุงศรีอยุธยา เปิดเผยว่า เงินบาทเปิดตลาดเช้านี้อยู่ที่ 34.97 บาท/ดอลลาร์ ปรับตัวอ่อนค่าจาก ปิดตลาดเย็นวันศุกร์ที่ระดับ 34.79 บาท/ดอลลาร์ เนื่องจากดอลลาร์ปรับตัวแข็งค่าเมื่อเทียบกับสกุลเงินหลัก ยกเว้นเยน โดยดอลลาร์เคลื่อนไหวตามทิศทางของอัตราผลตอบแทนพันธบัตรสหรัฐที่ปรับตัวสูงขึ้น หลังเจ้าหน้าที่ของธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) หลายคนออกมาแสดงความเห็นเกี่ยวกับการปรับลดอัตราดอกเบี้ยในเดือน มี.ค.67 ตามที่ตลาดคาดการณ์ไว้อาจเร็วเกินไป “บาทอ่อนค่าจากปิดตลาดเมื่อเย็นวันศุกร์ เนื่องจากช่วงวันหยุดมีเจ้าหน้าเฟดหลายคนออกมาแสดงความเห็นเรื่องการปรับลด อัตราดอกเบี้ยในเดือน มี.ค.67 อาจเร็วเกินไป” นักบริหารเงิน กล่าว นักบริหารเงิน ประเมินกรอบการเคลื่อนไหวของเงินบาทในวันนี้ไว้ที่ 34.85 – 35.15 บาท/ดอลลาร์ SPOT ล่าสุด อยู่ที่ระดับ 34.92750 บาท/ดอลลาร์

* ปัจจัยสำคัญ

– เงินเยน อยู่ที่ระดับ 142.33 เยน/ดอลลาร์ จากเย็นวันศุกร์ที่ระดับ 141.75 เยน/ดอลลาร์ – เงินยูโร อยู่ที่ระดับ 1.0898 ดอลลาร์/ยูโร จากเย็นวันศุกร์ที่ระดับ 1.0956 ดอลลาร์/ยูโร – อัตราแลกเปลี่ยนเงินบาท/ดอลลาร์ ถัวเฉลี่ยถ่วงน้ำหนักระหว่างธนาคารของ ธปท.อยู่ที่ระดับ 34.855 บาท/ดอลลาร์ – “นายกฯ” เผยหารือ “ผู้นำ 3 ชาติอาเซียน” จ่อฟื้น ครม. ร่วมไทย-เวียดนามเพิ่มศักยภาพเศรษฐกิจในภูมิภาค ชูเชื่อม โยงท่องเที่ยว 4 ชาติ เผย “ปธน. อินโดฯ” สั่งซื้อข้าวไทย 2 ล้านตัน – ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (ตลท.) สรุปมูลค่าซื้อขายหลักทรัพย์สะสมตามกลุ่มนักลงทุนตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม-15 ธันวาคม 2566 พบว่าสถาบันในประเทศซื้อสุทธิ 75,218.10 ล้านบาท บัญชีบริษัทหลักทรัพย์ (โบรกเกอร์) ขายสุทธิ 4,547.19 ล้าน บาท นักลงทุนต่างประเทศขายสุทธิ 191,952.17 ล้านบาท นักลงทุนในประเทศ (รายย่อย) ซื้อสุทธิ 121,281.26 ล้านบาท – “ปลัดแรงงาน” ส่ง “ม.ธรรมศาสตร์” ปรับสูตรคำนวณค่าจ้างขั้นต่ำใหม่ นัดบอร์ดถก 20 ธ.ค. หวัง ครม.เคาะทันสิ้น ปี “นิด้าโพล” เผย ปชช. 48.93% หนุนขึ้นเงินเดือน ขรก.กลุ่มแรก ส่วนขึ้นค่าแรง 35.11% หนุนขึ้นเท่ากันทุกจังหวัด – สำนักงบประมาณสภาคองเกรส (CBO) คาดว่า การขยายตัวทางเศรษฐกิจของสหรัฐจะชะลอตัวลงเหลือ 1.5% ในปี 2567 และอัตราการว่างงานจะเพิ่มขึ้นเป็น 4.4% ในปีหน้า จากที่คาดการณ์ไว้ที่ระดับเฉลี่ย 3.9% ในไตรมาสนี้ – คอมเมิร์ซแบงค์ เอจี ซึ่งเป็นธนาคารขนาดใหญ่ของเยอรมนี คาดการณ์ว่า ราคาทองมีแนวโน้มพุ่งขึ้นสู่ระดับ 2,150 ดอลลาร์/ออนซ์ในช่วงครึ่งหลังของปี 2567 โดยได้แรงหนุนจากการที่ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ส่งสัญญาณยุติวัฏจักรการปรับขึ้นอัตรา ดอกเบี้ย และจะเริ่มปรับลดอัตราดอกเบี้ยในปีหน้า – ความหวังของนักลงทุนที่ว่าธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) อาจจะปรับลดอัตราดอกเบี้ยในปีหน้าเริ่มลดน้อยลง หลังจากนาย จอห์น วิลเลียมส์ ประธานเฟดสาขานิวยอร์กกล่าวว่า เฟดยังไม่ได้ทำการหารือกันในขณะนี้เกี่ยวกับการปรับลดอัตราดอกเบี้ย – นักลงทุนจับตาผลการประชุมนโยบายการเงินของธนาคารกลางญี่ปุ่น (BOJ) ในวันอังคารนี้ (19 ธ.ค.) อย่างใกล้ชิด เพื่อหาสัญญาณบ่งชี้ทิศทางนโยบายการเงินในปีหน้า หลังจากมีกระแสคาดการณ์ว่า BOJ ใกล้จะยุติการใช้นโยบายอัตราดอกเบี้ยที่ระดับต่ำ เป็นพิเศษ (ultra-low interest rates) โดยปัจจุบันอัตราดอกเบี้ยนโยบายญี่ปุ่นยังคงอยู่ที่ระดับ -0.1% – ตัวเลขเศรษฐกิจสหรัฐฯ ที่สำคัญสัปดาห์นี้ ได้แก่ ดัชนีความเชื่อมั่นและตัวเลขเงินเฟ้อคาดการณ์จากมุมมองของผู้บริโภค สหรัฐฯ เดือนธ.ค. ตัวเลขการเริ่มสร้างบ้าน ยอดขายบ้านมือสอง ยอดขายบ้านใหม่ รายได้/รายจ่ายส่วนบุคคล และอัตราเงินเฟ้อที่วัด จาก PCE/Core PCE Price Indices เดือนพ.ย. ตัวเลขจีดีพีไตรมาส 3/66 (final) และจำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานราย สัปดาห์

กดอ่านข่าวต้นฉบับจาก InfoQuest

ล่าสุด
ข่าว