ภาวะตลาดเงินบาท: ปิด 35.66 อ่อนค่าต่อเนื่อง จับตาท่าที BOJ คาดกรอบพรุ่งนี้ 35.50-35.75 - Interstellar Group Thailand
Skip to content

Interstellar Group

ในฐานะผลิตภัณฑ์การซื้อขายทางการเงินที่ซับซ้อน สัญญาส่วนต่าง Contracts for Difference (CFDs) มีความเสี่ยงสูงอย่างมากเนื่องจากคุณสมบัติของเลเวอเรจ บัญชีลูกค้าของนักลงทุนรายย่อยส่วนใหญ่มักบันทึกการสูญเสียเงินลงทุนในสัญญาส่วนต่างอย่างรวดเร็ว คุณควรพิจารณาว่า คุณมีความเข้าใจเกี่ยวกับกฎเกณฑ์การดำเนินงานของสัญญาส่วนต่าง และสามารถรับความเสี่ยงสูงของการสูญเสียเงินลงทุนได้หรือไม่    

ภาวะตลาดเงินบาท: ปิด 35.66 อ่อนค่าต่อเนื่อง จับตาท่าที BOJ คาดกรอบพรุ่งนี้ 35.50-35.75

ISG
ประกาศ

เราขอแนะนำให้คุณปฏิบัติตามประกาศทางการตลาดของเรา

.right_news

A WORLD LEADER

IN FX & CFD TRADING

ตลาด
ข่าว

ข้อมูลทางการเงินทั่วโลกตลอด 24 ชั่วโมงและข่าวตลาดโลก

A WORLD LEADER

IN FX & CFD TRADING

การสนับสนุน &
ความรับผิดชอบต่อสังคม

InterStellar Group มีเป้าหมายที่จะเป็นบริษัทชั้นนำ และมีพลังในการสร้างผลกระทบที่ดีต่อโลก
นอกจากนี้เรายังมุ่งมั่นที่จะตอบแทนสังคม โดยตระหนักถึงคุณค่าของทุกคนเป็นส่วนสำคัญของชุมชนระดับโลกของเรา

A WORLD LEADER

IN FX & CFD TRADING

การสัมนาสดเกี่ยวกับฟอเร็กซ์

A WORLD LEADER

IN FX & CFD TRADING

23

2024-01

Date Icon
2024-01-23
การคาดการณ์สภาวะตลาด
ภาวะตลาดเงินบาท: ปิด 35.66 อ่อนค่าต่อเนื่อง จับตาท่าที BOJ คาดกรอบพรุ่งนี้ 35.50-35.75

InfoQuest – นักบริหารเงินจากธนาคารกรุงศรีอยุธยา เปิดเยผว่า เงินบาทปิดตลาดเย็นนี้ อยู่ที่ระดับ 35.66 บาท/ดอลลาร์ อ่อนค่าต่อ จากช่วงเช้าที่เปิดตลาดที่ระดับ 35.54 บาท/ดอลลาร์ เงินบาทยังอ่อนค่าในทิศทางเดียวกับสกุลเงินอื่นในภูมิภาค โดยระหว่างเคลื่อนไหวในกรอบ 35.44-35.68 บาท/ดอลลาร์ ซึ่งการที่เงินบาทยังคงอ่อนค่าต่อเนื่อง เป็นผลมาจากตลาดกังวลว่าดอกเบี้ยนโยบายของธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) อาจจะยังอยู่ในระดับที่ สูงต่อเนื่องยาวนาน เพราะตัวเลขเศรษฐกิจสหรัฐฯ หลายตัวยังออกมาค่อนข้างดี “เดิมตลาดมองว่าเฟดน่าจะเริ่มลดดอกเบี้ยได้ในช่วงไตรมาส 1 แต่ล่าสุด ปรับมุมมองเป็นว่าอาจจะยาวไปถึงกลางปี จึงทำ ให้นักลงทุนหันกลับมาถือครองดอลลาร์…สกุลเงินในภูมิภาคส่วนใหญ่อ่อนค่าเมื่อเทียบดอลลาร์ ส่วนเงินบาทที่ 35.68 อ่อนค่าในรอบ 5 สัปดาห์” นักบริหารเงิน ระบุ พรุ่งนี้ ตลาดรอดูผลประชุมธนาคารกลางญี่ปุ่น (BOJ) ซึ่งตลาดคาดว่าจะยังคงนโยบายดอกเบี้ยติดลบต่อ รวมทั้งจับตาว่า BOJ จะส่งสัญญาณยุติดอกเบี้ยติดลบได้เมื่อไร แต่ถ้าไม่ได้ออกมาส่งสัญญาณใดๆ ก็คาดว่าเงินเยนจะยังคงอ่อนค่าต่อ นักบริหารเงิน คาดว่า เงินบาทวันพรุ่งนี้ จะเคลื่อนไหวในกรอบ 35.50-35.75 บาท/ดอลลาร์

* ปัจจัยสำคัญ

– เงินเยนอยู่ที่ระดับ 148.11 เยน/ดอลลาร์ จากช่วงเช้าที่ระดับ 147.90/148.00 เยน/ดอลลาร์ – เงินยูโรอยู่ที่ระดับ 1.0897 ดอลลาร์/ยูโร จากช่วงเช้าที่ระดับ 1.0907/0911 ดอลลาร์/ยูโร – ดัชนี SET ปิดวันนี้ที่ 1,369.92 จุด ลดลง 12.59 จุด (-0.91%) มูลค่าซื้อขาย 51,505.59 ล้านบาท – สรุปปริมาณการซื้อขายรายกลุ่ม ต่างชาติขายสุทธิ 3,940.03 ล้านบาท – คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (CBS) ร่วมกับ World Economic Forum (WEF) เผยผลการ ประเมินอนาคตการเติบโตของประเทศต่างๆ ทั่วโลก พบว่า ประเทศไทยน่าห่วง อยู่ลำดับที่ 51 จาก 107 ประเทศทั่วโลก โดยอันดับ 1 คือ สวีเดน รองลงมา คือ สวิตเซอร์แลนด์ และฟินแลนด์ ขณะที่ประเทศในเอเชีย พบว่า ญี่ปุ่น อยู่ในลำดับ 11 ตามด้วยเกาหลี ลำดับที่ 12 และสิงคโปร์ ลำดับที่ 16 พร้อมแนะไทยควรเร่งพัฒนาด้านความยั่งยืน ความเหลื่อมล้ำของรายได้ – หัวหน้านักเศรษฐศาสตร์ และหัวหน้าฝ่ายวิเคราะห์เศรษฐกิจและการลงทุน กลุ่มธุรกิจการเงินเกียรตินาคินภัทร (KKP) มองว่า ปัจจุบันเศรษฐกิจไทยอาจจะโตต่ำกว่าระดับศักยภาพ รวมถึงภาคการท่องเที่ยว ที่ไม่สามารถกลับไปเหมือนเดิมได้ ความสามารถใน การแข่งขันลดลง และมีการขาดดุลการค้า เช่น ต้องมีนำเข้าสินค้าจากจีนมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นเครื่องใช้ไฟฟ้า เหล็ก รวมถึงการนำเข้ารถ ยนต์ไฟฟ้า (อีวี) เป็นต้น – มูดี้ส์ อินเวสเตอร์ส เซอร์วิส มีมุมมองเชิงลบต่ออันดับความน่าเชื่อถือของประเทศในเอเชียแปซิฟิกในปีนี้ เนื่องจากการ ชะลอตัวของเศรษฐกิจจีน, ภาวะตึงตัวด้านการเงิน และความเสี่ยงด้านภูมิรัฐศาสตร์ โดยมูดี้ส์คาดการณ์ว่า ปีนี้ GDP ของจีนจะชะลอตัวลง สู่ระดับ 4% ซึ่งการชะลอตัวของเศรษฐกิจจีน ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจในเอเชียแปซิฟิกอย่างมีนัยสำคัญ – สหภาพยุโรป (EU) เตรียมประกาศข้อเสนอใหม่ในสัปดาห์นี้ โดยอาศัยจุดแข็งของสหภาพยุโรปจากการที่เป็นตลาดเดียว (single market) เพื่อเสริมแกร่งตนเองให้เป็นมหาอำนาจระดับโลกอีกครั้ง ในยามที่หลายประเทศ เช่น จีน รัสเซีย และสหรัฐ เริ่ม เข้ามามีอำนาจครอบงำ – นักวิเคราะห์ส่วนใหญ่ คาดการณ์ว่าธนาคารกลางญี่ปุ่น (BOJ) จะคงนโยบายอัตราดอกเบี้ยติดลบในการประชุมรอบนี้ โดย คาดว่า BOJ ต้องการประเมินความแข็งแกร่งของการปรับขึ้นค่าจ้าง และผลกระทบทางเศรษฐกิจที่เกิดจากเหตุการณ์แผ่นดินไหวรุนแรงใน พื้นที่ภาคกลางของญี่ปุ่นเมื่อช่วงปีใหม่ – ข้อมูลเศรษฐกิจสำคัญของสหรัฐฯ ที่จะมีการรายงานในสัปดาห์นี้ ได้แก่ ดัชนีชี้นำเศรษฐกิจเดือนธ.ค., ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัด ซื้อ (PMI) ภาคการผลิต-ภาคบริการขั้นต้น เดือนม.ค., จำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานรายสัปดาห์, GDP ไตรมาส 4/2566 (ประมาณ การเบื้องต้น), ยอดขายบ้านใหม่เดือนธ.ค., ดัชนีราคาการใช้จ่ายเพื่อการบริโภคส่วนบุคคล (PCE) เดือนธ.ค. และยอดทำสัญญาขาย บ้านที่รอปิดการขาย (Pending Home Sales) เดือนธ.ค.

กดอ่านข่าวต้นฉบับจาก InfoQuest

ล่าสุด
ข่าว