ภาวะตลาดเงินบาท: เปิด 35.63 ตลาดรอปัจจัยใหม่ จับตาทิศทาง Flow-ประชุม BOJ - Interstellar Group Thailand
Skip to content

Interstellar Group

ในฐานะผลิตภัณฑ์การซื้อขายทางการเงินที่ซับซ้อน สัญญาส่วนต่าง Contracts for Difference (CFDs) มีความเสี่ยงสูงอย่างมากเนื่องจากคุณสมบัติของเลเวอเรจ บัญชีลูกค้าของนักลงทุนรายย่อยส่วนใหญ่มักบันทึกการสูญเสียเงินลงทุนในสัญญาส่วนต่างอย่างรวดเร็ว คุณควรพิจารณาว่า คุณมีความเข้าใจเกี่ยวกับกฎเกณฑ์การดำเนินงานของสัญญาส่วนต่าง และสามารถรับความเสี่ยงสูงของการสูญเสียเงินลงทุนได้หรือไม่    

ภาวะตลาดเงินบาท: เปิด 35.63 ตลาดรอปัจจัยใหม่ จับตาทิศทาง Flow-ประชุม BOJ

ISG
ประกาศ

เราขอแนะนำให้คุณปฏิบัติตามประกาศทางการตลาดของเรา

.right_news

A WORLD LEADER

IN FX & CFD TRADING

ตลาด
ข่าว

ข้อมูลทางการเงินทั่วโลกตลอด 24 ชั่วโมงและข่าวตลาดโลก

A WORLD LEADER

IN FX & CFD TRADING

การสนับสนุน &
ความรับผิดชอบต่อสังคม

InterStellar Group มีเป้าหมายที่จะเป็นบริษัทชั้นนำ และมีพลังในการสร้างผลกระทบที่ดีต่อโลก
นอกจากนี้เรายังมุ่งมั่นที่จะตอบแทนสังคม โดยตระหนักถึงคุณค่าของทุกคนเป็นส่วนสำคัญของชุมชนระดับโลกของเรา

A WORLD LEADER

IN FX & CFD TRADING

การสัมนาสดเกี่ยวกับฟอเร็กซ์

A WORLD LEADER

IN FX & CFD TRADING

23

2024-01

Date Icon
2024-01-23
การคาดการณ์สภาวะตลาด
ภาวะตลาดเงินบาท: เปิด 35.63 ตลาดรอปัจจัยใหม่ จับตาทิศทาง Flow-ประชุม BOJ

InfoQuest – นักบริหารเงินจากธนาคารกรุงศรีอยุธยา เปิดเผยว่า เงินบาทเปิดตลาดเช้านี้อยู่ที่ 35.63 บาท/ดอลลาร์ จากปิดตลาดเย็น วานนี้ที่ระดับ 35.66 บาท/ดอลลาร์ เคลื่อนไหวตามทิศทางตลาดโลก แต่ตลาดยังขาดปัจจัยชี้นำใหม่ ส่วนการประชุมธนาคารกลางญี่ปุ่น (บี โอเจ) ในวันนี้ตลาดคาดจะมีมติคงอัตราดอกเบี้ย ซึ่งจะมีผลต่อค่าเงินเยนเท่านั้น นักบริหารเงิน ประเมินกรอบการเคลื่อนไหวของเงินบาทในวันนี้ไว้ที่ 35.50 – 35.75 บาท/ดอลลาร์ ส่วนปัจจัยในประเทศ ต้องตามดูทิศทางของเงินทุนต่างประเทศ โดยเมื่อวานต่างชาติขายหุ้น 4 พันล้านบาท และขายพันธบัตร 900 ล้านบาท “ตลาดยังขาดปัจจัยชี้นำใหม่ ช่วงนี้ต้องดู Flow ในตลาดหุ้นและพันธบัตร เมื่อวานยังมีแรงขายออกจากต่างชาติ” นักบริหาร เงิน กล่าว SPOT ล่าสุด อยู่ที่ระดับ 35.62500 บาท/ดอลลาร์ * ปัจจัยสำคัญ

– เงินเยนทรงตัวเท่ากับช่วงเย็นวานนี้ที่ระดับ 148.11 เยน/ดอลลาร์ – เงินยูโรอยู่ที่ระดับ 1.0880 ดอลลาร์/ยูโร จากช่วงเย็นวานนี้ที่ระดับ 1.0897 ดอลลาร์/ยูโร – อัตราแลกเปลี่ยนเงินบาท/ดอลลาร์ ถัวเฉลี่ยถ่วงน้ำหนักระหว่างธนาคารของธปท.อยู่ที่ระดับ 35.572 บาท/ดอลลาร์ – “เคเคพี” ส่องค่าเงินบาท ไตรมาส 2 ปี 67 จ่ออ่อนค่าทะลุ 36.50 บาทต่อดอลลาร์ หากเฟดไม่ลด “ดอกเบี้ย” เร็ว อย่างที่ตลาดคาดไว้ ประกอบกับเป็นช่วง “ต่างชาติ” ขนเงินกลับ หลังรับปันผล ก่อนพลิก “แข็งค่า” ช่วงปลายปี จากภาพเศรษฐกิจ-ท่อง เที่ยวฟื้น – นายกฯ ลงพื้นที่ จ.ระนอง ประชุมครม.สัญจร รับฟังความเห็นชาวบ้านผุดโครงการ “แลนด์บริดจ์” มั่นใจสร้างอาชีพและ สร้างรายได้ให้คนในพื้นที่ได้เชื่อช่วยพลิกฟื้นเศรษฐกิจประเทศพร้อมประกาศเดินหน้า “ดิจิทัลวอลเล็ต” – “กรอ.กลุ่มภาคใต้อันดามัน” อนุมัติ 20 โครงการเข้า ครม.สัญจรระนอง วงเงิน 797 ล้าน ฟื้นเศรษฐกิจ ท่องเที่ยว ปรับปรุงโครงสร้างพื้นฐานคมนาคม เน้นเสร็จใน 1 ปี ททท.เสนอแผนดึงนักท่องเที่ยวต่างชาติเข้าระนอง ชง ครม.เพิ่มเที่ยวบินเข้า ระนอง “เศรษฐา” เตรียมพบกลุ่มต้านแลนด์บริดจ์ ชี้ เมกะโปรเจกต์ใหญ่สุดรอบ 20 ปี รองจากสนามบินสุวรรณภูมิ ยุคทักษิณ – ททท.ตั้งเป้าเพิ่มรายได้ท่องเที่ยวจังหวัดระนองให้ได้ 7,000 ล้านบาทในปีนี้ จากปีที่ผ่านมามีรายได้ 6,727 ล้านบาท เพื่อเพิ่มสัดส่วนนักท่องเที่ยวต่างชาติให้ได้ 15% ของนักท่องเที่ยวทั้งหมด จ่อดึงนักท่องเที่ยวตะวันออกกลาง บุกเที่ยวระนอง – ดอลลาร์สหรัฐแข็งค่าเล็กน้อยเมื่อเทียบกับสกุลเงินหลัก ๆ ในการซื้อขายที่ตลาดปริวรรตเงินตรานิวยอร์กในวันจันทร์ (22 ม.ค.) ขณะที่นักลงทุนจับตาการประชุมนโยบายการเงินของธนาคารกลางยุโรป (ECB) และธนาคารกลางญี่ปุ่น (BOJ) ในสัปดาห์นี้ รวม ทั้งรอดูข้อมูลเศรษฐกิจและเงินเฟ้อของสหรัฐในสัปดาห์นี้ด้วย เพื่อประเมินแนวโน้มอัตราดอกเบี้ยของธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) – สัญญาทองคำตลาดนิวยอร์กปิดลบในวันจันทร์ (22 ม.ค.) หลังจากนักลงทุนปรับลดน้ำหนักต่อการคาดการณ์ที่ว่าธนาคาร กลางสหรัฐ (เฟด) จะปรับลดอัตราดอกเบี้ยในการประชุมเดือนมี.ค. – นักลงทุนเทน้ำหนักให้กับการคาดการณ์ที่ว่า ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) จะคงอัตราดอกเบี้ยอีก 2 ครั้ง ก่อนที่จะปรับลด อัตราดอกเบี้ยในเดือนพ.ค. จากเดิมที่คาดว่าเฟดจะปรับลดอัตราดอกเบี้ยอย่างเร็วที่สุดในเดือนมี.ค. – ยูบีเอสออกรายงานคาดการณ์ว่า ราคาทองจะปิดตลาดในปีนี้พุ่งขึ้น 10% จากระดับปัจจุบัน สู่ระดับ 2,250 ดอลลาร์ โดย ได้อานิสงส์จากการปรับลดอัตราดอกเบี้ยของธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) – ตัวเลขเศรษฐกิจสหรัฐสัปดาห์นี้ ได้แก่ ตัวเลขผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) ประจำไตรมาส 4/2566, ดัชนี ราคาการใช้จ่ายเพื่อการบริโภคส่วนบุคคล (PCE) – นักลงทุนจับตาการประชุมกำหนดนโยบายการเงินของ ECB ในวันพฤหัสบดีนี้ (25 ม.ค.) เพื่อหาสัญญาณบ่งชี้กำหนดเวลา ในการปรับลดอัตราดอกเบี้ยของ ECB ขณะเดียวกันนักลงทุนรอดูผลการประชุมของ BOJ ในวันนี้เช่นกัน – นักวิเคราะห์จากแบงก์ ออฟ อเมริกา (BofA), บาร์เคลย์ และไอเอ็นจี (ING) คาดการณ์ว่า BOJ จะไม่เปลี่ยนแปลง จุดยืนจากนโยบายอัตราดอกเบี้ยติดลบในการประชุมครั้งนี้ โดย BofA และบาร์เคลย์คาดการณ์ว่า BOJ จะเริ่มเปลี่ยนแปลงนโยบายการ เงินในการประชุมเดือนเม.ย.

กดอ่านข่าวต้นฉบับจาก InfoQuest

ล่าสุด
ข่าว