Skip to content

Interstellar Group

ในฐานะผลิตภัณฑ์การซื้อขายทางการเงินที่ซับซ้อน สัญญาส่วนต่าง Contracts for Difference (CFDs) มีความเสี่ยงสูงอย่างมากเนื่องจากคุณสมบัติของเลเวอเรจ บัญชีลูกค้าของนักลงทุนรายย่อยส่วนใหญ่มักบันทึกการสูญเสียเงินลงทุนในสัญญาส่วนต่างอย่างรวดเร็ว คุณควรพิจารณาว่า คุณมีความเข้าใจเกี่ยวกับกฎเกณฑ์การดำเนินงานของสัญญาส่วนต่าง และสามารถรับความเสี่ยงสูงของการสูญเสียเงินลงทุนได้หรือไม่    

ภาวะตลาดเงินบาท: เปิด 35.56 จับตาเฟดส่งสัญญาณดอกเบี้ยกลางสัปดาห์นี้-ทิศทาง Flow

ISG
ประกาศ

เราขอแนะนำให้คุณปฏิบัติตามประกาศทางการตลาดของเรา

.right_news

A WORLD LEADER

IN FX & CFD TRADING

ตลาด
ข่าว

ข้อมูลทางการเงินทั่วโลกตลอด 24 ชั่วโมงและข่าวตลาดโลก

A WORLD LEADER

IN FX & CFD TRADING

การสนับสนุน &
ความรับผิดชอบต่อสังคม

InterStellar Group มีเป้าหมายที่จะเป็นบริษัทชั้นนำ และมีพลังในการสร้างผลกระทบที่ดีต่อโลก
นอกจากนี้เรายังมุ่งมั่นที่จะตอบแทนสังคม โดยตระหนักถึงคุณค่าของทุกคนเป็นส่วนสำคัญของชุมชนระดับโลกของเรา

A WORLD LEADER

IN FX & CFD TRADING

การสัมนาสดเกี่ยวกับฟอเร็กซ์

A WORLD LEADER

IN FX & CFD TRADING

29

2024-01

Date Icon
2024-01-29
การคาดการณ์สภาวะตลาด
ภาวะตลาดเงินบาท: เปิด 35.56 จับตาเฟดส่งสัญญาณดอกเบี้ยกลางสัปดาห์นี้-ทิศทาง Flow

InfoQuest – นักบริหารเงินจากธนาคารกรุงศรีอยุธยา เปิดเผยว่า เงินบาทเปิดตลาดเช้านี้อยู่ที่ 35.56 บาท/ดอลลาร์ จากปิดตลาดเมื่อ เย็นวันศุกร์ที่ระดับ 35.64 บาท/ดอลลาร์ เช้านี้เงินบาทและสกุลเงินในภูมิภาคส่วนใหญ่แข็งค่าจากสัปดาห์ก่อน โดยเช้านี้บอนด์ยีลด์สหรัฐฯ ปรับตัวลดลง ตลาดเฝ้ารอผล ประชุมธนาคารกลางสหรัฐฯ (เฟด) ช่วงกลางสัปดาห์นี้ ซึ่งคาดการณ์ว่าเฟดจะคงดอกเบี้ยที่ 5.25-5.50% เนื่องจากตลาดมองว่า แม้ เศรษฐกิจจะมีความแข็งแกร่ง แต่เงินเฟ้อเป็นขาลง ดังนั้น ต้องรอดูสัญญาณว่าเฟดจะปรับลดดอกเบี้ยเมื่อไร นักบริหารเงิน ประเมินกรอบการเคลื่อนไหวของเงินบาทในวันนี้ไว้ที่ 35.45 – 35.75 บาท/ดอลลาร์ สำหรับปัจจัยที่ต้อง ติดตามวันนี้ ยังไม่มีตัวเลขเศรษฐกิจสำคัญ ให้ติดตามกระแสเงินทุนเคลื่อนย้ายเข้า-ออก ทั้งตลาดหุ้น และพันธบัตรไทยเป็นหลัก

* ปัจจัยสำคัญ

– เงินเยนอยู่ที่ระดับ 148.07 เยน/ดอลลาร์ จากเย็นวานนี้ที่ระดับ 147.85 เยน/ดอลลาร์ – เงินยูโร อยู่ที่ระดับ 1.0844 ดอลลาร์/ยูโร จากเย็นวานนี้ที่ระดับ 1.0846 ดอลลาร์/ยูโร – อัตราแลกเปลี่ยนเงินบาท/ดอลลาร์ ถัวเฉลี่ยถ่วงน้ำหนักระหว่างธนาคารของธปท. อยู่ที่ระดับ 35.666 บาท/ดอลลาร์ – “รมว.ต่างประเทศไทย-จีน” ร่วมลงนามข้อตกลง “ฟรีวีซ่า” สำหรับนักท่องเที่ยวของกันและกัน พำนักได้ 30 วัน มีผล 1 มี.ค. 67 เป็นต้นไป “หวัง อี้” ขอบคุณไทย หนุนหลักการ “จีนเดียว” ชวนคนไทยไปเที่ยวจีน นายกฯ ยกเป็นก้าวสำคัญในความ สัมพันธ์ มีผลอย่างมากต่อการกระตุ้น ศก. – ผู้อำนวยการสำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ (สคร.) เปิดเผยว่า เตรียมผลักดันโครงการลงทุนภาครัฐ อีก 8 โครงการเข้าอยู่ในแผนการลงทุนร่วมทุนแบบพีพีพีในปีนี้ รวมมูลค่าโครงการกว่า 1 แสนล้านบาท เพิ่มเติมจากปัจจุบันที่มีโครงการลงทุน ของภาครัฐ ที่อยู่ในแผนพีพีพี 127 โครงการ คิดเป็นมูลค่าประมาณ 1.16 ล้านล้านบาท โดยทุกจำนวน 1 แสนล้านบาทของการลงทุน นั้น จะช่วยผลักดันจีดีพีของประเทศให้ขยายตัวได้ประมาณ 0.3% – ผู้บริหารงานวิจัย ศูนย์วิจัยกสิกรไทย เปิดเผยว่า ในช่วงเดือน ม.ค. ระหว่างวันที่ 1-24 ม.ค.67 มีเงินไหลออกจาก ตลาดทุนไทยแล้ว 30,000 ล้านบาท เป็นการไหลออกจากตลาดหุ้นไทย หลังนักลงทุนต่างชาติขายกว่า 23,868 ล้านบาท และต่างชาติขาย พันธบัตรไทย 5,925 ล้านบาท ทำให้ในสัปดาห์ที่ผ่านมาเงินบาทอ่อนค่าสุดในรอบกว่า 2 เดือนอยู่ที่ 35.88 บาทต่อดอลลาร์ ซึ่งเงินบาท ค่อนข้างผันผวนจนเปิดตลาดวันที่ 26 ม.ค. เงินบาทกลับมาฟื้นตัวแข็งค่าเล็กน้อยที่ระดับ 35.65 บาทต่อดอลลาร์ – สถานการณ์ในตะวันออกกลางมีแนวโน้มตึงเครียดมากยิ่งขึ้น หลังจากประธานาธิบดีโจ ไบเดน ผู้นำสหรัฐเปิดเผยว่า มี ทหารสหรัฐเสียชีวิต 3 รายและได้รับบาดเจ็บอย่างน้อย 34 ราย หลังจากโดรนลำหนึ่งได้พุ่งเป้าโจมตีฐานทัพของสหรัฐในพื้นที่ตะวันออก เฉียงเหนือของจอร์แดน ใกล้กับชายแดนซีเรีย โดยปธน.ไบเดนเชื่อว่าเป็นฝีมือของกลุ่มติดอาวุธที่ได้รับการสนับสนุนจากอิหร่าน และ ประกาศว่าจะใช้ปฏิบัติการตอบโต้ในเรื่องนี้ – รัฐบาล หน่วยงานเศรษฐกิจ-ความมั่นคง จับตาภูมิรัฐศาสตร์เขย่าเศรษฐกิจโลกหลังเลือกตั้งในหลายประเทศ ขณะที่ ‘นา โต้’ซ้อมรบใหญ่สุดหลังสงครามเย็น “คลัง-สศช.” เตือนรัฐบาลจับตาความเสี่ยงภูมิรัฐศาสตร์ “บิ๊กคอร์ป” เกาะติด “โออาร์-เอสซีจี” รับ มือผลกระทบธุรกิจ “นักเศรษฐศาสตร์” มองภูมิรัฐศาสตร์ปัจจัยเสี่ยงหลักเศรษฐกิจไทย หวั่นเผชิญ Stagflation เงินเฟ้อพุ่งเศรษฐกิจโต ต่ำ – นักลงทุนจับตาผลการประชุมนโยบายการเงินของธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) อย่างใกล้ชิด โดยคณะกรรมการเฟดจะแถลง มติการประชุมวันพุธที่ 31 ม.ค.ตามเวลาสหรัฐ หรือตรงกับช่วงเช้าตรู่ของวันพฤหัสบดีที่ 1 ก.พ.ตามเวลาไทย – ตัวเลขเศรษฐกิจสหรัฐฯ ที่สำคัญสัปดาห์นี้ ได้แก่ ดัชนีราคาบ้านเดือนพ.ย. ตัวเลขการเปิดรับสมัครงานและอัตราการหมุน เวียนของแรงงาน (JOLTS) เดือนธ.ค. ดัชนี ISM/PMI ภาคการผลิต ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภค ตัวเลขจ้างงานภาคเอกชน ข้อมูลการ จ้างงานนอกภาคเกษตรและอัตราการว่างงานเดือนม.ค. – ตลาดยังรอติดตามผลการประชุมธนาคารกลางอังกฤษ (BoE) จีดีพีไตรมาส 4/2566 ของยูโรโซน และดัชนี PMI ภาค การผลิตเดือนม.ค. ของจีน ญี่ปุ่น ยูโรโซน และอังกฤษด้วย

กดอ่านข่าวต้นฉบับจาก InfoQuest

ล่าสุด
ข่าว