InfoQuest – นักบริหารเงินจากธนาคารกรุงศรีอยุธยา เปิดเผยว่า เงินบาทปิดตลาดเย็นนี้ อยู่ที่ระดับ 35.62 บาท/ดอลลาร์ อ่อนค่าจาก ช่วงเช้าที่เปิดตลาดที่ระดับ 35.52 บาท/ดอลลาร์ ระหว่างวันเงินบาทเคลื่อนไหวอยู่ในกรอบ 35.44-35.65 บาท/ดอลลาร์ โดยเงินบาทปรับตัวอ่อนค่าลง หลังรู้ผลประชุมคณะ กรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) ที่มีมติไม่เป็นเอกฉันท์ให้คงดอกเบี้ยนโยบาย โดยตลาดกังวลมุมมองของ กนง.ที่ออกมาว่ายังมีกังวลต่อ ทิศทางเศรษฐกิจ ซึ่งได้ปรับลดคาดการณ์ GDP ปีนี้ลงเหลือ 2.5-3.0% จากเดิม 3.2-3.8% “ตลาดมองว่า โทนของ กนง.ค่อนข้างกังวลเศรษฐกิจ และมีการปรับลด GDP ปีนี้ลง ซึ่งเมื่อเศรษฐกิจไม่ดี ตลาดมองว่ามี โอกาสที่ กนง.จะลดดอกเบี้ยลงในปีนี้ ในขณะที่อัตราดอกเบี้ยของไทย อยู่ในระดับที่ค่อนข้างต่ำเมื่อเทียบกับหลายประเทศ ซึ่งการลด ดอกเบี้ยลง ย่อมทำให้ผลตอบแทนที่จะได้รับต่ำลงด้วย อีกทั้งอาจทำให้เกิด Out flow” นักบริหารเงิน ระบุ นักบริหารเงิน คาดว่า เงินบาทวันพรุ่งนี้ จะเคลื่อนไหวในกรอบ 35.45 – 35.75 บาท/ดอลลาร์
* ปัจจัยสำคัญ – เงินเยนอยู่ที่ระดับ 147.94 เยน/ดอลลาร์ จากช่วงเช้าที่ระดับ 147.82 เยน/ดอลลาร์ – เงินยูโรอยู่ที่ระดับ 1.0768 ดอลลาร์/ยูโร จากช่วงเช้าที่ระดับ 1.0759 ดอลลาร์/ยูโร – ดัชนี SET ปิดวันนี้ที่ 1,400.02 จุด เพิ่มขึ้น 3.06 จุด (+0.22%) มูลค่าซื้อขาย 45,550.88 ล้านบาท – สรุปปริมาณการซื้อขายรายกลุ่ม ต่างชาติขายสุทธิ 2,016.26 ล้านบาท – ที่ประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) ครั้งที่ 1/2567 มีมติ 5 ต่อ 2 เสียง ให้คงอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่ 2.50 % ต่อปี ขณะที่ 2 เสียง เห็นควรให้ลดอัตราดอกเบี้ยนโยบาย 0.25% ต่อปี – กนง.ระบุว่า เศรษฐกิจไทยปี 67 มีแนวโน้มขยายตัวชะลอลงจากภาคการส่งออกและการผลิต เนื่องจากอุปสงค์โลกและ เศรษฐกิจจีนฟื้นตัวช้า รวมถึงปัจจัยเชิงโครงสร้างกระทบการขยายตัวของการส่งออกสินค้าอุตสาหกรรมและการท่องเที่ยวมากกว่าที่ประเมิน ไว้ แต่อุปสงค์ในประเทศยังขยายตัวต่อเนื่องและเป็นแรงขับเคลื่อนสำคัญของเศรษฐกิจ ด้านอัตราเงินเฟ้ออยู่ในระดับต่ำ โดยมีแนวโน้ม ทยอยเพิ่มขึ้นเข้าสู่กรอบเป้าหมายช้ากว่าที่ประเมินไว้ – รมว.ท่องเที่ยวและกีฬา เปิดเผยจำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติว่า ข้อมูล ณ วันที่ 5 ก.พ. 67 พบว่ามีจำนวนนักท่องเที่ยว สะสม ตั้งแต่วันที่ 1 ม.ค. – 4 ก.พ. 67 รวมทั้งสิ้น 3,513,155 คน สร้างรายได้จากการใช้จ่ายของนักท่องเที่ยวต่างชาติแล้ว ประมาณ 170,411 ล้านบาท – สมาชิกที่มีแนวคิดเข้มงวดที่สุดในบรรดากรรมการกำกับนโยบายการเงินทั้ง 6 คนของธนาคารกลางยุโรป (ECB) ออกโรง เตือนว่า ต้นทุนกู้ยืมเงินที่ลดน้อยลงจะช่วยประคองเศรษฐกิจที่ซบเซาของยูโรโซน แต่ก็จะทำให้เงินเฟ้อพุ่งขึ้นอีกครั้ง นักลงทุนคาดการณ์ว่า ECB จะเริ่มปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายเร็วที่สุดในเดือนเม.ย. แต่เจ้าหน้าที่กำหนดนโยบายระบุว่า ยังเร็วเกินไปที่จะหารือเรื่องดังกล่าวในการประชุมเดือนที่ผ่านมา โดยหลายฝ่ายระบุว่า การตัดสินใจด้านอัตราดอกเบี้ยนโยบายจะขึ้นอยู่กับ ว่าค่าจ้างยังคงเติบโตในระดับสูงหรือไม่ หรือทำให้เงินเฟ้อเพิ่มขึ้นอีกครั้งหรือไม่ – บริษัทแปซิฟิก อินเวสต์เมนต์ แมเนจเมนต์ โค หรือพิมโค (Pacific Investment Management Co : PIMCO) เปิด เผยว่า ธนาคารกลางญี่ปุ่น (BOJ) อาจยุติการใช้นโยบายอัตราดอกเบี้ยติดลบอย่างเร็วที่สุดในการประชุมเดือนมี.ค. ก่อนจะปรับขึ้นอัตรา ดอกเบี้ยหลายครั้งในปีนี้ ซึ่งอาจส่งผลให้ความต้องการพันธบัตรรัฐบาลญี่ปุ่นลดลง – คณะผู้แทนสหรัฐเปิดเผยกับทางการจีนว่า นางเจเน็ต เยลเลน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังสหรัฐต้องการเดินทาง เยือนจีนในปีนี้ ซึ่งเป็นสัญญาณบ่งชี้ว่า ความสัมพันธ์ระหว่างสองมหาอำนาจทางเศรษฐกิจมีเสถียรภาพมากยิ่งขึ้น – นักเศรษฐศาสตร์ชาวอเมริกันและประธานบริษัท ลาฟเฟอร์ เทงเลอร์ อินเวสต์เมนต์ส (Laffer Tengler Investments) ออกโรงเตือนว่า โลกกำลังเห็นเค้าลางของวิกฤตหนี้สาธารณะที่จะขยายวงในช่วง 10 ปีข้างหน้า และวิกฤตดังกล่าวจะ ไม่พบจุดจบที่ดี โดยยอดเงินกู้ทั่วโลกแตะระดับสูงเป็นประวัติการณ์ที่ 307.4 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐเมื่อช่วงปลายเดือนก.ย. 2566
กดอ่านข่าวต้นฉบับจาก InfoQuest