ภาวะตลาดเงินบาท: ปิด 35.72 แข็งค่าสุดในภูมิภาค รับแรงขายดอลลาร์ เกาะติดข้อมูลเงินเฟ้อสหรัฐคืนนี้ - Interstellar Group Thailand
Skip to content

Interstellar Group

ในฐานะผลิตภัณฑ์การซื้อขายทางการเงินที่ซับซ้อน สัญญาส่วนต่าง Contracts for Difference (CFDs) มีความเสี่ยงสูงอย่างมากเนื่องจากคุณสมบัติของเลเวอเรจ บัญชีลูกค้าของนักลงทุนรายย่อยส่วนใหญ่มักบันทึกการสูญเสียเงินลงทุนในสัญญาส่วนต่างอย่างรวดเร็ว คุณควรพิจารณาว่า คุณมีความเข้าใจเกี่ยวกับกฎเกณฑ์การดำเนินงานของสัญญาส่วนต่าง และสามารถรับความเสี่ยงสูงของการสูญเสียเงินลงทุนได้หรือไม่    

ภาวะตลาดเงินบาท: ปิด 35.72 แข็งค่าสุดในภูมิภาค รับแรงขายดอลลาร์ เกาะติดข้อมูลเงินเฟ้อสหรัฐคืนนี้

ISG
ประกาศ

เราขอแนะนำให้คุณปฏิบัติตามประกาศทางการตลาดของเรา

.right_news

A WORLD LEADER

IN FX & CFD TRADING

ตลาด
ข่าว

ข้อมูลทางการเงินทั่วโลกตลอด 24 ชั่วโมงและข่าวตลาดโลก

A WORLD LEADER

IN FX & CFD TRADING

การสนับสนุน &
ความรับผิดชอบต่อสังคม

InterStellar Group มีเป้าหมายที่จะเป็นบริษัทชั้นนำ และมีพลังในการสร้างผลกระทบที่ดีต่อโลก
นอกจากนี้เรายังมุ่งมั่นที่จะตอบแทนสังคม โดยตระหนักถึงคุณค่าของทุกคนเป็นส่วนสำคัญของชุมชนระดับโลกของเรา

A WORLD LEADER

IN FX & CFD TRADING

การสัมนาสดเกี่ยวกับฟอเร็กซ์

A WORLD LEADER

IN FX & CFD TRADING

14

2024-02

Date Icon
2024-02-14
การคาดการณ์สภาวะตลาด
ภาวะตลาดเงินบาท: ปิด 35.72 แข็งค่าสุดในภูมิภาค รับแรงขายดอลลาร์ เกาะติดข้อมูลเงินเฟ้อสหรัฐคืนนี้

InfoQuest – นักบริหารเงินจากธนาคารกรุงศรีอยุธยา เปิดเผยว่า เงินบาทปิดตลาดเย็นนี้อยู่ที่ 35.72 บาท/ดอลลาร์ ปรับตัวแข็งค่าจาก เปิดตลาดเมื่อเช้าที่ระดับ 35.89 บาท/ดอลลาร์ หลังเงินปอนด์ได้รับแรงหนุนจากตัวเลขเศรษฐกิจของอังกฤษออกมาดี ทำให้ดอลลาร์ปรับ ตัวอ่อนค่าลงมาในจังหวะเดียวกับที่มีแรงเทขายดอลลาร์ ระหว่างวันเงินบาทเคลื่อนไหวในกรอบ 35.67 – 35.94 บาท/ดอลลาร์ โดยคืน นี้ตลาดรอดูตัวเลขเงินเฟ้อเดือน ม.ค.ของสหรัฐฯ “เย็นนี้บาทปิดตลาดแข็งค่าสุดในภูมิภาค หลังเคลื่อนไหวเข้าใกล้ 36 (บาท/ดอลลาร์) แล้วมีแรงเทขายดอลลาร์ออกมา พอดี เป็นจังหวะที่มีแรงหนุนให้ดอลลาร์อ่อนค่าเข้ามาเสริม” นักบริหารเงิน กล่าว นักบริหารเงิน ประเมินกรอบการเคลื่อนไหวของเงินบาทในวันพรุ่งนี้ไว้ที่ 35.65 – 35.90 บาท/ดอลลาร์

* ปัจจัยสำคัญ

– เงินเยนอยู่ที่ 149.62 เยน/ดอลลาร์ จากเมื่อเช้าที่ระดับ 149.38 เยน/ดอลลาร์ – เงินยูโรอยู่ที่ 1.0758 ดอลลาร์/ยูโร จากเมื่อเช้าที่ระดับ 1.0768 ดอลลาร์/ยูโร – ดัชนี SET ปิดวันนี้ที่ระดับ 1,391.73 จุด เพิ่มขึ้น 2.43 จุด, +0.17% มูลค่าซื้อขาย 32,842.64 ล้านบาท – สรุปปริมาณการซื้อขายรายกลุ่ม ต่างชาติขายสุทธิ 188.34 ล้านบาท – ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) มีมติเห็นชอบให้ปรับปรุงแผนบริหารหนี้สาธารณะ ประจำปีงบประมาณ 2567 ครั้งที่ 1 ตามที่คณะกรรมการนโยบายและกำกับการบริหารหนี้สาธารณะเสนอ โดยให้ปรับวงเงินการก่อหนี้ใหม่เพิ่มขึ้นอีก 560,276 แสนล้านบาท จากเดิม 194,434 ล้านบาท มาเป็น 754,710 ล้านบาท แต่ยืนยันการก่อหนี้ที่เพิ่มขึ้นนั้นไม่ได้ใช้สำหรับโครงการดิจิทัล วอลเล็ต – มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย ประเมินภาพรวมเศรษฐกิจไทยปี 67 จะเติบโตได้ราว 3.0-3.5% แต่หากรัฐบาลสามารถ ดำเนินโครงการแจกเงิน 1 หมื่นบาทผ่านดิจิทัลวอลเล็ตได้เป็นรูปธรรมก็ช่วยให้เศรษฐกิจไทยปีนี้มีโอกาสเติบโตได้ใกล้เคียงกับ 4% มากขึ้น – มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย เผยดัชนีความเชื่อมั่นของผู้บริโภคในเดือน ม.ค.67 อยู่ที่ระดับ 62.9 เพิ่มขึ้นต่อเนื่องเป็น เดือนที่ 6 และเป็นระดับสูงสุดในรอบ 47 เดือนนับตั้งแต่ มี.ค.63 – สำนักงานสถิติแห่งชาติอังกฤษ (ONS) เปิดเผยข้อมูลในวันนี้ (13 ก.พ.) ว่า อัตราค่าจ้างของอังกฤษเติบโตในอัตราที่ ชะลอตัวที่สุดในรอบกว่าหนึ่งปี ณ สิ้นปี 2566 แต่ก็ชะลอตัวน้อยกว่าที่นักวิเคราะห์ส่วนใหญ่คาดการณ์ไว้ ส่วนอัตราการว่างงานของอังกฤษ กลับลดลงแบบเหนือความคาดหมาย นักวิเคราะห์กล่าวว่า ข้อมูลบ่งชี้ว่าตลาดแรงงานของอังกฤษอาจยังคงสร้างแรงกดดันเงินเฟ้อมากเกินไป จนธนาคารกลาง อังกฤษ (BoE) มีแนวโน้มจะไม่รีบลดอัตราดอกเบี้ย – ฟิทช์ เรทติ้งส์ ส่งสัญญาณเตือนว่าอาจจะปรับลดอันดับความน่าเชื่อถือของอังกฤษ โดยได้ออกรายงานเตือนรัฐบาลอังกฤษให้ ควบคุมการใช้จ่ายในแผนงบประมาณของรัฐบาลอย่างเข้มงวด มิฉะนั้นอาจมีความเสี่ยงที่จะถูกปรับลดอันดับความน่าเชื่อถืออีกครั้ง – กระทรวงการคลังสหรัฐเปิดเผยเมื่อวันจันทร์ (12 ก.พ.) ว่า ยอดขาดดุลงบประมาณของสหรัฐลดลงอย่างรวดเร็วในเดือน ม.ค. สู่ระดับ 2.2 หมื่นล้านดอลลาร์ เนื่องจากรายรับที่พุ่งสูงเป็นประวัติการณ์ในเดือนม.ค. โดยส่วนหนึ่งมาจากการจ่ายคืนภาษีที่ลดลง หลังกรมสรรพากรสหรัฐ (IRS) จัดการกับรายการค้างชำระของการคืนภาษีที่ล่าช้าเนื่องจากการระบาดของโควิด-19 เรียบร้อยแล้ว – นักลงทุนจับตามองการเปิดเผยตัวเลขดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) เดือนม.ค. ในวันนี้ ซึ่งจะเป็นตัวชี้วัดทิศทางการตัดสินใจ ด้านนโยบายทางการเงินและดอกเบี้ยของธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด)

กดอ่านข่าวต้นฉบับจาก InfoQuest

ล่าสุด
ข่าว