ภาวะตลาดเงินนิวยอร์ก: ดอลล์อ่อนค่า คาดเฟดลดดอกเบี้ยหลังค้าปลีกสหรัฐซบเซา - Interstellar Group Thailand
Skip to content

Interstellar Group

ในฐานะผลิตภัณฑ์การซื้อขายทางการเงินที่ซับซ้อน สัญญาส่วนต่าง Contracts for Difference (CFDs) มีความเสี่ยงสูงอย่างมากเนื่องจากคุณสมบัติของเลเวอเรจ บัญชีลูกค้าของนักลงทุนรายย่อยส่วนใหญ่มักบันทึกการสูญเสียเงินลงทุนในสัญญาส่วนต่างอย่างรวดเร็ว คุณควรพิจารณาว่า คุณมีความเข้าใจเกี่ยวกับกฎเกณฑ์การดำเนินงานของสัญญาส่วนต่าง และสามารถรับความเสี่ยงสูงของการสูญเสียเงินลงทุนได้หรือไม่    

ภาวะตลาดเงินนิวยอร์ก: ดอลล์อ่อนค่า คาดเฟดลดดอกเบี้ยหลังค้าปลีกสหรัฐซบเซา

ISG
ประกาศ

เราขอแนะนำให้คุณปฏิบัติตามประกาศทางการตลาดของเรา

.right_news

A WORLD LEADER

IN FX & CFD TRADING

ตลาด
ข่าว

ข้อมูลทางการเงินทั่วโลกตลอด 24 ชั่วโมงและข่าวตลาดโลก

A WORLD LEADER

IN FX & CFD TRADING

การสนับสนุน &
ความรับผิดชอบต่อสังคม

InterStellar Group มีเป้าหมายที่จะเป็นบริษัทชั้นนำ และมีพลังในการสร้างผลกระทบที่ดีต่อโลก
นอกจากนี้เรายังมุ่งมั่นที่จะตอบแทนสังคม โดยตระหนักถึงคุณค่าของทุกคนเป็นส่วนสำคัญของชุมชนระดับโลกของเรา

A WORLD LEADER

IN FX & CFD TRADING

การสัมนาสดเกี่ยวกับฟอเร็กซ์

A WORLD LEADER

IN FX & CFD TRADING

16

2024-02

Date Icon
2024-02-16
การคาดการณ์สภาวะตลาด
ภาวะตลาดเงินนิวยอร์ก: ดอลล์อ่อนค่า คาดเฟดลดดอกเบี้ยหลังค้าปลีกสหรัฐซบเซา

InfoQuest – ดอลลาร์สหรัฐอ่อนค่าลงเมื่อเทียบกับสกุลเงินหลัก ๆ ในการซื้อขายที่ตลาดปริวรรตเงินตรานิวยอร์กในวันพฤหัสบดี (15 ก.พ.) หลังจากสหรัฐเปิดเผยยอดค้าปลีกลดลงมากกว่าคาด ซึ่งทำให้ตลาดคาดการณ์ว่าธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) อาจจะเริ่มพิจารณาปรับลดอัตราดอกเบี้ยในไม่ช้านี้

ทั้งนี้ ดัชนีดอลลาร์ ซึ่งเป็นดัชนีวัดความเคลื่อนไหวของดอลลาร์เมื่อเทียบกับสกุลเงินหลัก 6 สกุลในตะกร้าเงิน ลดลง 0.41% แตะที่ระดับ 104.296

ดอลลาร์อ่อนค่าลงหลังจากกระทรวงพาณิชย์สหรัฐรายงานว่า ยอดค้าปลีกลดลง 0.8% ในเดือนม.ค. เมื่อเทียบรายเดือน ขณะที่นักวิเคราะห์คาดว่าจะลดลงเพียง 0.3% หลังจากเพิ่มขึ้น 0.4% ในเดือนธ.ค. และเมื่อเทียบเป็นรายปี ยอดค้าปลีกเพิ่มขึ้นเพียง 0.65% หลังจากพุ่งขึ้น 5.3% ในเดือนธ.ค.

ทั้งนี้ ยอดค้าปลีกที่ลดลงมากกว่าคาดทำให้ตลาดคาดการณ์ว่า เฟดอาจจะเริ่มพิจารณาปรับลดอัตราดอกเบี้ย โดยล่าสุด FedWatch Tool ของ CME Group บ่งชี้ว่า นักลงทุนให้น้ำหนัก 40% ต่อการคาดการณ์ว่าเฟดจะปรับลดอัตราดอกเบี้ยในเดือนพ.ค. ซึ่งตัวเลขดังกล่าวเพิ่มขึ้นจากช่วงก่อนที่สหรัฐจะเปิดเผยยอดค้าปลีก

ส่วนเงินเยนแข็งค่าขึ้น 0.4% เมื่อเทียบกับดอลลาร์ ที่ระดับ 149.92 เยนต่อดอลลาร์ แม้รัฐบาลญี่ปุ่นเปิดเผยว่า ตัวเลขผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) ไตรมาส 4/2566 ของญี่ปุ่นหดตัวลง 0.4% เมื่อเทียบเป็นรายปี หลังจากที่หดตัวลง 3.3% ในไตรมาส 3/2566 ซึ่งการที่ GDP หดตัวลงติดต่อกัน 2 ไตรมาสบ่งชี้ว่าเศรษฐกิจญี่ปุ่นเข้าสู่ภาวะถดถอยทางเทคนิค และส่งผลให้ญี่ปุ่นสูญเสียสถานะการเป็นประเทศที่มีระบบเศรษฐกิจใหญ่เป็นอันดับ 3 ของโลกให้กับเยอรมนี โดยขณะนี้ญี่ปุ่นกลายเป็นประเทศเศรษฐกิจขนาดใหญ่อันดับ 4 ของโลก

ขณะที่ยูโรแข็งค่าขึ้น 0.4% เมื่อเทียบกับดอลลาร์ ที่ระดับ 1.0768 ยูโรต่อดอลลาร์ ส่วนเงินปอนด์แข็งค่าขึ้น 0.3% เมื่อเทียบกับดอลลาร์ แตะที่ระดับ 1.2595 ปอนด์ต่อดอลลาร์ แม้สำนักงานสถิติแห่งชาติอังกฤษ (ONS) รายงานว่า ตัวเลข GDP ไตรมาส 4/2566 ของอังกฤษหดตัวลง 0.3% เมื่อเทียบเป็นรายปี และเป็นการหดตัวลงติดต่อกัน 2 ไตรมาส ซึ่งบ่งชี้ว่าเศรษฐกิจอังกฤษเข้าสู่ภาวะถดถอยทางเทคนิคแล้ว

สำหรับข้อมูลเศรษฐกิจที่มีการรายงานเมื่อคืนนี้ กระทรวงแรงงานสหรัฐเปิดเผยว่า ตัวเลขผู้ยื่นขอสวัสดิการว่างงานครั้งแรกลดลง 8,000 ราย สู่ระดับ 212,000 รายในสัปดาห์ที่แล้ว ซึ่งเป็นระดับต่ำสุดในรอบ 1 เดือน และต่ำกว่าตัวเลขคาดการณ์ของนักวิเคราะห์ที่ระดับ 219,000 ราย

สมาคมผู้สร้างบ้านแห่งชาติ (NAHB) ของสหรัฐเปิดเผยว่า ดัชนีความเชื่อมั่นผู้สร้างบ้านเพิ่มขึ้น 4 จุด สู่ระดับ 48 ในเดือนก.พ. ซึ่งเป็นการปรับตัวขึ้นติดต่อกันเป็นเดือนที่ 3 โดยดัชนีความเชื่อมั่นได้รับแรงหนุนจากการปรับตัวลงของอัตราดอกเบี้ยเงินกู้จำนอง

กดอ่านข่าวต้นฉบับจาก InfoQuest

ล่าสุด
ข่าว