ภาวะตลาดเงินนิวยอร์ก: ดอลล์ฟื้นตัวหลังอ่อนค่าช่วงแรกจากข้อมูลเงินเฟ้อ - Interstellar Group Thailand
Skip to content

Interstellar Group

ในฐานะผลิตภัณฑ์การซื้อขายทางการเงินที่ซับซ้อน สัญญาส่วนต่าง Contracts for Difference (CFDs) มีความเสี่ยงสูงอย่างมากเนื่องจากคุณสมบัติของเลเวอเรจ บัญชีลูกค้าของนักลงทุนรายย่อยส่วนใหญ่มักบันทึกการสูญเสียเงินลงทุนในสัญญาส่วนต่างอย่างรวดเร็ว คุณควรพิจารณาว่า คุณมีความเข้าใจเกี่ยวกับกฎเกณฑ์การดำเนินงานของสัญญาส่วนต่าง และสามารถรับความเสี่ยงสูงของการสูญเสียเงินลงทุนได้หรือไม่    

ภาวะตลาดเงินนิวยอร์ก: ดอลล์ฟื้นตัวหลังอ่อนค่าช่วงแรกจากข้อมูลเงินเฟ้อ

ISG
ประกาศ

เราขอแนะนำให้คุณปฏิบัติตามประกาศทางการตลาดของเรา

.right_news

A WORLD LEADER

IN FX & CFD TRADING

ตลาด
ข่าว

ข้อมูลทางการเงินทั่วโลกตลอด 24 ชั่วโมงและข่าวตลาดโลก

A WORLD LEADER

IN FX & CFD TRADING

การสนับสนุน &
ความรับผิดชอบต่อสังคม

InterStellar Group มีเป้าหมายที่จะเป็นบริษัทชั้นนำ และมีพลังในการสร้างผลกระทบที่ดีต่อโลก
นอกจากนี้เรายังมุ่งมั่นที่จะตอบแทนสังคม โดยตระหนักถึงคุณค่าของทุกคนเป็นส่วนสำคัญของชุมชนระดับโลกของเรา

A WORLD LEADER

IN FX & CFD TRADING

การสัมนาสดเกี่ยวกับฟอเร็กซ์

A WORLD LEADER

IN FX & CFD TRADING

01

2024-03

Date Icon
2024-03-01
การคาดการณ์สภาวะตลาด
ภาวะตลาดเงินนิวยอร์ก: ดอลล์ฟื้นตัวหลังอ่อนค่าช่วงแรกจากข้อมูลเงินเฟ้อ

InfoQuest – ดอลลาร์สหรัฐดีดตัวขึ้นเมื่อเทียบกับสกุลเงินหลัก ๆ ในการซื้อขายที่ตลาดปริวรรตเงินตรานิวยอร์กในวันพฤหัสบดี (29 ก.พ.) หลังการซื้อขายเป็นไปอย่างผันผวน และดอลลาร์แข็งค่าขึ้นเป็นเดือนที่ 2 ติดต่อกันเมื่อเทียบกับยูโรและเยน โดยดอลลาร์ฟื้นตัวขึ้นหลังจากอ่อนค่าในช่วงเช้าซึ่งถูกกดดันจากการที่สหรัฐเปิดเผยข้อมูลเงินเฟ้อเดือนม.ค.ที่เป็นไปตามคาดการณ์

ทั้งนี้ ดัชนีดอลลาร์ ซึ่งเป็นดัชนีวัดความเคลื่อนไหวของดอลลาร์เมื่อเทียบกับสกุลเงินหลัก 6 สกุลในตะกร้าเงิน ปรับตัวขึ้น 0.17% สู่ระดับ 104.156 และปรับตัวขึ้น 0.57% ในเดือนก.พ.

แต่ดอลลาร์อ่อนค่าลง 0.48% สู่ระดับ 149.96 เยน แต่แข็งค่าขึ้น 2.07% เมื่อเทียบกับเยนในเดือนก.พ. ส่วนยูโรอ่อนค่าลง 0.33% สู่ระดับ 1.0800 ดอลลาร์ และปรับตัวลง 0.15% ในเดือนก.พ.ดอลลาร์อ่อนค่าลงในช่วงเช้าหลังการเปิดเผยข้อมูลเงินเฟ้อเดือนม.ค.ของสหรัฐปรับตัวขึ้นน้อยที่สุดในรอบเกือบ 3 ปี ซึ่งทำให้ตลาดคาดว่าธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) จะปรับลดอัตราดอกเบี้ยลงในเดือนมิ.ย.นี้

กระทรวงพาณิชย์สหรัฐเปิดเผยว่า ดัชนี PCE ทั่วไป (Headline PCE) ซึ่งรวมหมวดอาหารและพลังงาน ปรับตัวขึ้น 2.4% ในเดือนม.ค. เมื่อเทียบรายปี หลังจากเพิ่มขึ้น 2.6% ในเดือนธ.ค. และเมื่อเทียบรายเดือน ดัชนี PCE ทั่วไป ปรับตัวขึ้น 0.3% ในเดือนม.ค. หลังจากเพิ่มขึ้น 0.1% ในเดือนธ.ค.

ส่วนดัชนี PCE พื้นฐาน (Core PCE) ซึ่งไม่นับรวมหมวดอาหารและพลังงาน และเป็นมาตรวัดเงินเฟ้อที่ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ให้ความสำคัญ ปรับตัวขึ้น 2.8% ในเดือนม.ค. เมื่อเทียบรายปี หลังจากเพิ่มขึ้น 2.9% ในเดือนธ.ค. และเมื่อเทียบรายเดือน ดัชนี PCE พื้นฐานปรับตัวขึ้น 0.4% ในเดือนม.ค. หลังจากเพิ่มขึ้น 0.1% ในเดือนธ.ค.

ทั้งนี้ ดัชนี PCE ถือเป็นมาตรวัดเงินเฟ้อที่สามารถตรวจจับการเปลี่ยนแปลงในพฤติกรรมของผู้บริโภค และครอบคลุมราคาสินค้าและบริการในวงกว้างมากกว่าดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI)เครื่องมือ FedWatch Tool ของ CME Group บ่งชี้ว่า บรรดาเทรดเดอร์คาดการณ์ว่า มีโอกาส 64% ที่เฟดจะเริ่มปรับลดอัตราดอกเบี้ยในเดือนมิ.ย. เพิ่มขึ้นจาก 63% เมื่อวันพุธ

เยนดีดตัวขึ้น หลังนายฮามาจิ ทากาตะ กรรมการธนาคารกลางญี่ปุ่น (BOJ) เชื่อว่า BOJ จะบรรลุเป้าหมายเงินเฟ้อที่ระดับ 2% ซึ่งจะเปิดโอกาสให้ญี่ปุ่นยกเลิกนโยบายอัตราดอกเบี้ยติดลบและการควบคุมผลตอบแทนพันธบัตร

ยูโรอ่อนค่าลงหลังเยอรมนี, ฝรั่งเศสและสเปนเปิดเผยข้อมูลเงินเฟ้อที่ชะลอตัวลง และนักลงทุนจะจับตาการเปิดเผยข้อมูลเงินเฟ้อของยูโรโซนในวันศุกร์นี้

กดอ่านข่าวต้นฉบับจาก InfoQuest

ล่าสุด
ข่าว