Skip to content

Interstellar Group

ในฐานะผลิตภัณฑ์การซื้อขายทางการเงินที่ซับซ้อน สัญญาส่วนต่าง Contracts for Difference (CFDs) มีความเสี่ยงสูงอย่างมากเนื่องจากคุณสมบัติของเลเวอเรจ บัญชีลูกค้าของนักลงทุนรายย่อยส่วนใหญ่มักบันทึกการสูญเสียเงินลงทุนในสัญญาส่วนต่างอย่างรวดเร็ว คุณควรพิจารณาว่า คุณมีความเข้าใจเกี่ยวกับกฎเกณฑ์การดำเนินงานของสัญญาส่วนต่าง และสามารถรับความเสี่ยงสูงของการสูญเสียเงินลงทุนได้หรือไม่    

BAY คาดกรอบเงินบาท 32.50-33.25 จับตาสัญญาณเฟดสัปดาห์นี้

ISG
ประกาศ

เราขอแนะนำให้คุณปฏิบัติตามประกาศทางการตลาดของเรา

.right_news

A WORLD LEADER

IN FX & CFD TRADING

ตลาด
ข่าว

ข้อมูลทางการเงินทั่วโลกตลอด 24 ชั่วโมงและข่าวตลาดโลก

A WORLD LEADER

IN FX & CFD TRADING

การสนับสนุน &
ความรับผิดชอบต่อสังคม

InterStellar Group มีเป้าหมายที่จะเป็นบริษัทชั้นนำ และมีพลังในการสร้างผลกระทบที่ดีต่อโลก
นอกจากนี้เรายังมุ่งมั่นที่จะตอบแทนสังคม โดยตระหนักถึงคุณค่าของทุกคนเป็นส่วนสำคัญของชุมชนระดับโลกของเรา

A WORLD LEADER

IN FX & CFD TRADING

การสัมนาสดเกี่ยวกับฟอเร็กซ์

A WORLD LEADER

IN FX & CFD TRADING

31

2023-01

Date Icon
2023-01-31
การคาดการณ์สภาวะตลาด
BAY คาดกรอบเงินบาท 32.50-33.25 จับตาสัญญาณเฟดสัปดาห์นี้

InfoQuest – กลุ่มงานโกลบอลมาร์เก็ตส์ ธนาคารกรุงศรีอยุธยา (BAY) เผยมุมมองที่มีต่อทิศทางค่าเงินบาทในสัปดาห์นี้มีแนวโน้มเคลื่อนไหวในกรอบ 32.50-33.25 บาท/ดอลลาร์ จากสัปดาห์ที่ผ่านมาเงินบาทปิดอ่อนค่าที่ 32.86 บาท/ดอลลาร์ หลังซื้อขายในช่วง 32.57-32.94 บาท/ดอลลาร์ เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา คณะกรรมการนโยบายการเงิน(กนง.) มีมติเป็นเอกฉันท์ให้ปรับขึ้นดอกเบี้ยนโยบาย 25bp สู่ระดับ 1.50% เงินดอลลาร์อ่อนค่าเล็กน้อยเมื่อเทียบกับเงินยูโรแต่แข็งค่าเทียบกับเยนในสัปดาห์ที่ผ่านมา ขณะที่อัตราผลตอบแทนพันธบัตรสหรัฐฯ แกว่งตัวออกด้านข้างเพื่อรอผลประชุมธนาคารกลางสหรัฐฯ (เฟด) โดยสหรัฐฯ รายงานจีดีพีไตรมาส 4/65 เติบโต 2.9% ซึ่งสดใสกว่าคาด สร้างความหวังเกี่ยวกับภาวะ Soft Landing ส่วนข้อมูลการใช้จ่ายบริโภคส่วนบุคคลชะลอตัวตามคาด ด้านธนาคารกลางแคนาดาปรับขึ้นดอกเบี้ย 25bp สู่ 4.5% ซึ่งเป็นจุดสูงสุดรอบ 15 ปี แต่ระบุว่ามีแนวโน้มที่จะพักการขึ้นดอกเบี้ยเพื่อประเมินผลจากการเร่งคุมเข้มนโยบายในปีที่ผ่านมา สนับสนุนการคาดการณ์ที่ว่าธนาคารกลางชั้นนำอีกหลายแห่งใกล้ยุติการขึ้นดอกเบี้ยในช่วงครึ่งแรกของปีนี้ ขณะที่นักลงทุนต่างชาติซื้อหุ้นและพันธบัตรไทยสุทธิ 2,921 ล้านบาท และ 2,190 ล้านบาท ตามลำดับ

สถานการณ์ในสัปดาห์นี้มีจุดสนใจของตลาดโลกอยู่ที่การประชุมเฟดวันที่ 31 ม.ค.-1 ก.พ. ซึ่งคาดว่าจะขึ้นดอกเบี้ย 25bp สู่ 4.50-4.75% ปฏิกิริยาของนักลงทุนจะขึ้นอยู่กับการสื่อสารของเฟดเกี่ยวกับทิศทางนโยบายระยะถัดไป โดยการร่วงลงของดอลลาร์และ Financial Conditions ที่ผ่อนคลายในช่วงกว่า 3 เดือนที่ผ่านมาสะท้อนการปรับโทนขึ้นดอกเบี้ยในขนาดที่ลดลงไปแล้ว อนึ่ง ปัจจัยชี้นำอัตราแลกเปลี่ยนอาจมาจากการตอบรับของสินทรัพย์เสี่ยง โดยหากตลาดหุ้นเลือกทางปรับฐานลง ค่าเงินดอลลาร์จะได้แรงหนุนชั่วคราว นอกจากนี้ตลาดจะจับตาดัชนี ISM ภาคการผลิตและบริการ การจ้างงานนอกภาคเกษตรเดือนม.ค.ของสหรัฐฯ รวมถึงผลประชุมธนาคารกลางอังกฤษ(บีโออี)และธนาคารกลางยุโรป(อีซีบี)วันที่ 2 ก.พ. ซึ่งคาดว่าทั้งคู่จะขึ้นอัตราดอกเบี้ย 50bp

สำหรับปัจจัยในประเทศ กนง. มองเศรษฐกิจไทยมีแนวโน้มฟื้นตัวจากการท่องเที่ยวและการบริโภคภาคเอกชนที่จะได้รับแรงส่งจากการกลับมาของนักท่องเที่ยวจีน ขณะที่เงินเฟ้อพื้นฐานจากด้านอุปสงค์มีสูงขึ้น ส่วนการส่งออกจะชะลอตัวปีนี้ โดยธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) มองว่าการเคลื่อนไหวของเงินบาทในขณะนี้ยังสมเหตุสมผล อนึ่ง กรุงศรีคาดว่า กนง.จะขึ้นดอกเบี้ยสู่ 1.75% ในเดือนมี.ค.ก่อนจะตรึงไว้ที่ระดับดังกล่าวเพื่อประเมิน Balance of Risks ต่อไป

กดอ่านข่าวต้นฉบับจาก InfoQuest

ล่าสุด
ข่าว